Archive for the ‘บทความทันตกรรม’ Category

  • การเตรียมตัวก่อนการจัดฟัน

    Date: 2013.06.23 | Category: จัดฟัน, บทความทันตกรรม | Response: 0

  • ลูมีเนียร์ (Lumineers)

    Date: 2013.06.13 | Category: ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม, บทความทันตกรรม | Response: 0

    ลูมีเนียร์ (Lumineers)


    Lumineers

    เคลือบฟันเทียมลูมิเนียร์ LUMINEERS™ หรือเคลือบฟันเทียมชนิดบาง ทำมาจากเซอริเนทพอร์ซเลน (Cerinate Porcelain) ซึ่งแข็งแรงกว่าพอร์ซเลนซึ่งใช้ทำเคลือบฟันเทียมทั่วไป จึงสามารถทำให้มีความบางได้จนใกล้เคียงกับคอนแทคเลนส์ (0.2 มม.) แต่ยังคงความแข็งแรงเท่ากับเคลือบฟันเทียมชนิดปกติ และมีอายุการใช้งานเฉลี่ยก็ยาวนานถึง 20 ปี

    ข้อดีของเคลือบฟันเทียมลูมิเนียร์ LUMINEERS™ ก็คือไม่ต้องกรอฟันธรรมชาติ หากในอนาคตต้องการกลับไปมีรอยยิ้มแบบเดิมก่อนทำลูมิเนียร์ LUMINEERS™ ก็สามารถเอาออกโดยง่ายโดยที่ผิวฟันธรรมชาติก็ยังเหมือนเดิม หากจำเป็นต้องมีการกรอฟันในบางรายก็จะกรอแต่งแค่ชั้นของผิวเคลือบฟันเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้ลูมิเนียร์ LUMINEERS™ ยังสามารถใช้ติดเพื่อปกปิดวัสดุบูรณะฟันชนิดอื่นๆเช่นวัสดุอุดฟัน หรือครอบฟันเก่าๆที่ดูไม่สวย ที่มีรอยร้าว รอยบิ่น หรือสีเปลี่ยนได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องรื้ออุดใหม่หรือทำครอบฟันใหม่ แต่ทั้งนี้วัสดุอุดฟันหรือครอบฟันดังกล่าวต้องอยู่ในสภาพดีไม่มีรอยรั่วตามขอบ หรือรอยผุข้างใต้


    ลูมีเนียร์ (Lumineers)

    ข้อดีของเคลือบฟันเทียมลูมิเนียร์ LUMINEERS™

    ผิวหน้าฟันที่แข็งแรงไม่ถูกกรอ ออกไป

    – ไม่ต้องฉีดยาชา ไม่ต้องกรอฟัน ไม่เจ็บ*

    – ปลอดภัยสำหรับรายที่เสียวฟันง่าย


    Lumineers

    ประเภทของการเคลือบผิวฟันหรือวีเนียร์

    การเคลือบผิวฟันจากวัสดุคอมโพสิทเรซิน เป็นวิธีการรักษาที่ง่ายและสามารถทำให้สำเร็จได้ภายในการรักษาครั้งเดียว

    การเคลือบผิวฟันจากวัสดุเซรามิก เป็นวิธีการรักษาในกรณีที่มีความผิดปกติมากและขนาดใหญ่ และวัสดุนี้มีความแข็งแรงทนทานสูงกว่า

    ขั้นตอนการรักษา การทำฟันลูมิเนียร์วีเนียร์

    ทันตะแพทย์จะตรวจวินิจฉัยฟันก่อน รวมถึงแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมเพื่อให้เหมาะกับความต้องการของคนไข้

    กรอฟันและแต่งฟันก่อนเข้ารับการรักษา

    พิมพ์ฟันเพื่อทำแบบจำลอง

    ส่งแบบจำลองไปทำชิ้นส่วนลูมิเนียร์วีเนียร์

    ติดยึดเซรามิกบนผิวฟัน พร้อมฉายแสงรังสี เพื่อเพิ่มความแข็งแรง พร้อมตรวจเช็คและปรับแต่งให้เหมาะสม

  • ศัลยกรรมช่องปาก

    Date: 2013.06.13 | Category: บทความทันตกรรม, ศัลยกรรมช่องปาก | Response: 0

    ศัลยศาสตร์ช่องปาก Oral Surgery


    ศัลยศาสตร์ช่องปาก

    ศัลยศาสตร์ช่องปาก Oral Surgery

    ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาก่อนที่จะเริ่มการรักษา โดยศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย

    1. การผ่าตัดเพื่อผ่าฟันคุด

    2. การถอนฟัน

    3. การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายกระดูก

    4. การปรับตำแหน่งขากรรไกรล่าง (Mandibular setback/advancement)

    5. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร (Surgical correction of jaw excess/deficiency)

    6. ศัลยกรรมปลูกกระดูกวิธี Sinus Lift

    การบูรณะฟันบริเวณฟันหลังของขากรรไกรบนด้วยรากเทียม มีข้อพิจารณาสำคัญอยู่ที่การละลายตัวของกระดูกรองรับฟันจากการที่สูญเสียฟัน ไป ทำให้เกิดปัญหาต่อการปลูกรากเทียมในบริเวณขากรรไกรบนเนื่องจากขาดกระดูกใน การรองรับรากเทียม จึงต้องทำการเสริมกระดูกก่อนที่จะผ่าตัดฝังรากเทียมด้วยวัสดุเสริมกระดูก อาทิเช่น กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง, กระดูกมนุษย์, กระดูกสัตว์ หรือกระดูกสังเคราะห์ โดยการเสริมกระดูกสามารถทำได้ทั้งในแนวกว้าง, แนวสูง และการปลูกกระดูกในบริเวณพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลา โดยการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมในบริเวณกระดูกขากรรไกรบนด้านหลังนี้ จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ในการวางแผน วินิจฉัยการรักษา รวมทั้งเทคนิคต่างๆในการผ่าตัดเสริมกระดูกในบริเวณนี้เป็นอย่างดี

    การถอนฟัน


    การถอนฟัน

    ขั้นตอนการถอนฟัน

    1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย

    2. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน

    3. ในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้


    x-ray

    x-ray ฟิล์มใหญ่

    ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น

    การเตรียมบริเวณฟันที่จะได้รับการถอน

    ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการถอนฟัน

    เริ่มการถอนฟัน

    ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน

    หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง

    ฟันคุด

    การถอนฟันคุด

    ฟันคุดที่ไม่ขึ้น ขึ้นบางส่วน หรือขึ้นเต็มแต่ไม่ได้ใช้งานเพราะขึ้นล้มเอียงเข้าหาลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม มักถูกถอนออกไป ซึ่งการถอน การถอนฟันคุดนั้น มีทั้งแบบถอนออกด้วยวิธีปกติ และการผ่าตัด การผ่าตัดมักทำในฟันคุดที่ขึ้นบางส่วนพร้อมทั้งล้มเอียง ยากแก่การดึงออกทั้งซี่ ทันตแพทย์จะทำการกรอแบ่งฟันออกเป็นชิ้นเล็กๆก่อนที่จะ ค่อยๆหยิบฟันแต่ละชิ้นออกมา การกรอแบ่งฟันทำเพื่อให้ดึงฟันออกง่าย ไม่กระทบกระเทือนต่อฟันซี่ใกล้เคียง ทำให้การรักษาสำเร็จรวดเร็ว ลดการบวมหรือชอกช้ำของเหงือกบริเวณที่ถอนฟันคุดนั้น

    ฟันกรามซี่ที่อยู่่ในสุด หรือฟันกรามใหญ่ซี่ที่3 มักไม่ขึ้นในช่องปาก เนื้อจากเป็นฟันซี่สุดท้ายที่ขึ้นมาในบางครั้งพบว่าขนาดของซี่ฟันใหญ่กว่าช่องที่เหลืออยู่ ทำให้ฟันกรามซี่นี้ขึ้นได้บางส่วน หรือขึ้นไม่ได้เลย หากขึ้นได้บางส่วน และมักเอียงชนฟันกรามซี่หน้า ทำให้มีการผุ กร่อน มีกลิ่นปากจากเศษอาหารติดหมักหมมตรงซอกฟัน และนำไปถึงอาการฟันข้างเคียงโยก ปวด บวม อักเสบ ตั้งแต่ปานกลางจนถึงรุนแรง ในบางกรณีพบว่าเนื้องอกและถุงน้ำมีการเกิดร่วมกับฟันคุดได้ด้วย

    ปัญหาฟันคุดที่กวนใจหลายๆคน ทำไมเราถึงต้องถอนฟันคุดกัน

    ผลที่เกิดจากฟันคุดและข้อบ่งชี้ในการถอน

    1. การอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด (Pericoronitis)  เป็นผลของฟันคุดล่างที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดกับฟันที่ขึ้นมาบางส่วน  การอักเสบหรือการติดเชื้อจะเกิดใน follicle ที่เหลือตกค้าง  (หุ้มตัวฟันคุด) ซึ่งอยู่ระหว่างฟันคุดกับกระดูกและเหงือกรอบ ๆ
    2. ฟันผุ  เศษอาหารมักติดในซอกระหว่างฟันคุดกับฟันข้างเคียง  ทำให้ฟันทั้งสองซี่ผุได้ง่าย  แม้จะอุดแล้วก็มีโอกาสผุอีก  การถอนฟันคุดออกจึงเป็นการป้องกันไม่ให้ฟัน second molar ผุ  (การอุดฟัน second molar จะอุดหลังจากถอนฟันคุดออกไปแล้ว เพื่อป้องกันวัสดุอุดแตกขณะถอนฟันคุด)
    3. เกิดถุงน้ำ ฟันคุดล่างจะเป็นฟันที่เกี่ยวข้องกับการเกิด dentigerous (follicular) cyst  บ่อยที่สุด  อาจไม่มีอาการปวด    พบโดยภาพถ่ายรังสี  กระดูกจะถูกทำลายไปเรื่อย ๆ พบการบวมหรือการขยายใหญ่ของกระดูกขากรรไกรได้  กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่อาจดันฟันคุดให้เคลื่อนห่างไปจากตำแหน่งเดิมได้มาก  เช่น ไปอยู่ใกล้ขอบล่างของขากรรไกรหรือบริเวณ ramus เป็นต้น
    4. อาการปวด  ฟันคุดอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณที่มันอยู่  หรือปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น  อาการปวดอาจเป็นผลจากการอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด  ฟันผุ  รากฟันข้างเคียงละลาย  โรคปริทันต์ หรือพยาธิสภาพรอบรากฟัน หรือหาสาเหตุไม่ได้  คนไข้ทีมีอาการปวดบริเวณฟันคุดหรือปวดตื้อ ๆ บริเวณขมับหรือบริเวณใกล้เคียงโดยที่หาสาเหตุอื่นไม่พบ อาการปวดดังกล่าวอาจหายไปหลังจากถอนฟันคุดออก
    5. ฟันซ้อน  เชื่อว่าแรงดันจากฟันคุดจะทำให้ฟันหน้าล่างเกซ้อนได้  จึงแนะนำให้ถอนฟันคุดในคนไข้จัดฟันก่อนหรือหลังการจัดฟัน

    ข้อห้ามในการถอนฟันคุด

    1.            ในคนแก่ที่ฟันคุดฝังอยู่ในกระดูกลึก ๆ โดยไม่มีอาการ  ไม่มีพยาธิสภาพและไม่มีทางติดต่อกับช่องปาก

    2.            สุขภาพร่างกายของคนไข้ไม่ดี ไม่พร้อมที่จะรับการผ่าตัด

    3.            ฟันคุดที่อาจใช้เป็นฟันหลัก (abutment)  ได้ หรือกรณีที่อาจต้องถอนฟัน second molar แต่ต้องคำนึงถึงอายุและการเอียงตัวของฟันคุดได้

    สาระความรู้เกี่ยวกับข้อแนะนำการรักษาทางทันตกรรม

    การถอนฟัน

    1. หลังถอนฟันให้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ซ.ม. (1/2 ซ.ม. ถ้าเป็นการถอนฟันน้ำนม) อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซเล่น
    2. หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟันให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดต่อให้แน่นอีก 1/2 ซ.ม.
    3. ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ช.ม. หลังถอนฟัน ควรแปรงฟันให้สะอาดหลังอาหาร และก่อนนอน โดยระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล
    4. ตลอดหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ถอนฟัน ให้อมน้ำเกลือบ้วนปากเบาๆ (ใช้เกลือป่น 1/2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)
    5. รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :
    o ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด
    o ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด


    ศัลยกรรมในช่องปาก
    ในการผ่าตัดฟันคุด และศัลยกรรมในช่องปากอื่นๆ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อแนะนำหลังการถอนฟัน และมีข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
    1. ในวันแรกหลังการผ่าตัด ควรประคบเย็นด้านนอกปาก บริเวณที่ใกล้แผลผ่าตัด โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรอมน้ำแข็ง
    2. เริ่มประคบร้อนในวันที่ 2 โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น่จัดบิดให้หมาด อาการบวมจะลดลงเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์
    3. งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
    4. สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด และร้อนจัด
    5. กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด

    6. การรักษาความสะอาด สำคัญมากต่อการหายของแผล

    – ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ทันตแพทย์ให้ไป เป็นน้ำยาบ้วนปากรักษาเฉพาะการรักษาหลังการถอนฟัน Difflam หรือ C20 ) บ้วนวันละ 2 ครั้ง เช้า – ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)

  • การเกลารากฟัน

    Date: 2013.06.13 | Category: ทันตกรรมปริทันต์, บทความทันตกรรม | Response: 0

    Root Planing

    ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก
    เมื่อทราบสาเหตุแล้วว่า โรคปริทันต์ ว่าเกี่ยวข้องกับการสะสมของคราบหินปูน จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน(root planing) ร่วม ด้วย คำว่าเกลารากฟันนี้อาจจะเป็นศัพท์ใหม่ ที่คนทั่วไปไม่ค่อยคุ้น แปลไทยเป็นไทยได้ว่า ทำผิวรากฟันให้เรียบ (เกลา = ทำให้เรียบ) คือการกำจัดคราบหินปูนและคราบเชื้อโรคที่เกาะบนรากฟันให้หมด จนได้ผิวรากฟันที่เรียบแข็ง ช่วยให้เหงือกกลับมายึดได้ดีขึ้น

    สาเหตุของโรคปริทันต์
    สาเหตุเบื้องต้น คือ เชื้อแบคทีเรียบางชนิดที่มีอยู่ในช่องปากซึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นใน สภาวะที่เหมาะสม กล่าวคือการมีคราบอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลที่เกาะบนผิวฟัน และจากการที่เราทำความสะอาดฟันไม่ดีพอ ทำให้คราบอาหารเหล่านี้กลายเป็นอาหารของแบคทีเรีย ทำให้แบคทีเรียเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นแผ่กระจายไปบนผิวฟันที่เราเรียกกันว่า แผ่นคราบจุลินทรีย์ แบคทีเรียพวกนี้เมื่อมีการบริโภคอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาลเข้าไปจะปล่อยกรด และสารพิษออกมา เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการอักเสบ ผลคือทำให้เหงือกบวมแดงอักเสบและมีเลือดออก ทำให้เกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ แผ่นคราบจุลินทรีย์ไม่เพียงแต่จะมีแค่ส่วนตัวฟันที่อยู่เหนือขอบเหงือกเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นในส่วนใต้ขอบเหงือกที่เรามองไม่เห็น ส่วนนี้เองที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ลงสู่กระดูกเบ้าฟัน ผลคือทำให้กระดูกเบ้าฟันละลาย ทำให้ล่องเหงือกลึกลงไปเรื่อยๆ ทำให้ฟันไม่ยึดติดกับเหงือกและก่อให้เกิดหนองในร่องปริทันต์ ทำให้รู้สึกเจ็บเหงือกและอาจมีอาการปวดเมื่อเคาะที่ตัวฟันและฟันโยกได้ ถ้าปล่อยทิ้งไว้เหงือกและกระดูกเบ้าฟันจะถูกทำลายลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็อาจจะต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป เนื่องจากสูญเสียอวัยวะรอบฟันที่ช่วยในการยึดเกาะฟันไว้กับขากรรไกร
    อธิบายอีกนัยหนึ่ง คือ คราบเชื้อโรคเมื่อเกาะบนผิวฟันนานๆกลายเป็นคราบหินปูน เมื่อมีคราบหินปูนก็เป็นที่สะสมของคราบเชื้อโรคมากยิ่งขึ้น เมื่อคราบหินปูนและแบคที่เรียสะสมมากขึ้นและนานขึ้น จะเพิ่มปริมาณลึกลงไปใต้ขอบเหงือกทำให้การอักเสบลุกลามลงไปยังอวัยวะปริทันต์ทั้งหมด จึงเกิดการทำลายอวัยวะปริทันต์ตามมา

    หินปูนตามซอกฟัน

    ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก

    1. การรักษาจะต้องมีการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) ร่วมด้วย โดยจะขูดหินปูนทั้นบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์ ส่วนการเกลารากฟันคือการทำให้ผิวรากฟันเรียบเพื่อให้เนื้อเยื่อเหงือกสามารถกลับมายึดแน่นติดกับผิวฟันได้เหมือนเดิม ซึ่งขั้นตอนนี้จะต้องทำซ้ำหลายๆ ครั้ง และมักจะแบ่งทำทีละส่วนของช่องปาก สามารถแบ่งทำเป็น 4 ส่วน (quadrant) หรือ 6 ส่วน (sextant) ก็ได้ แล้วแต่ทันตแพทย์ผู้ให้การรักษาพิจารณาตามความเหมาะสม

    2. หลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4-6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะเรียกกลับมาดูอาการอีกครั้งว่า หายดีหรือไม่ ถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่หรือมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้องใช้วิธีผ่าตัดเหงือก (ศัลย์ปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย

    3. ท่านจะต้องทำความสะอาดฟันและซอกฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอด้วยตนเอง อย่างน้อยจะต้องใช้แปรงและไหมขัดฟันทุกวัน เพื่อที่จะกำจัดคราบจุลินทรีย์ให้หมดทุกวัน

    4. ไปพบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อตรวจดูว่ามีคราบจุลินทรีย์และหินปูนหลงเหลือจากการทำความสะอาดเองหรือไม่ เพื่อที่จะได้รับการรักษาในระยะแรก

    หากในคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมากๆ ก็อาจจำเป็นต้องพบทันตแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการเกลารากฟัน เพื่อขจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่บริเวณตัวฟัน และผิวรากฟัน การขูดเหงือกเป็นการกำจัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อที่ช่องเหงือก การขูดหินปูน และการขูดเหงือกเป็นการใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากอย่างจริง ก็จะเพียงพอต่อการควบคุมโรค แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค

    สำหรับคนไข้ที่เป็นโรคเหงือกมาก ๆ การขูดหินปูนและการขูดเหงือก อาจจะไม่ได้ผล ซึ่งในลักษณะนี้ส่วนใหญ่จะแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งระหว่างการผ่าตัดนี้ แพทย์ผู้ทำการผ่าตัดจะทำการยกเหงือกเพื่อที่จะดูการลุกลามไปที่รากหรือกระดูก คราบจุลินทรีย์และหินปูนที่ได้ทำการขจัดออกจากบริเวณและจากกระดูกฟัน จากนั้นนำเหงือกกลับสู่ตำแหน่งที่เหมาะสมที่เหมาะแก่การทำความสะอาดหลังการรักษา

    เมื่อมีการเปิดเหงือก และกระดูกมีการสูญเสียไป บางครั้งคนไข้ต้องรักษาโดยการปลูกกระดูก ซึ่งการปลูกกระดูกนี้เป็นการสร้างกระดูกจากไขกระดูกในปากของเราเอง หรือจากกระดูกเทียม ซึ่งในขั้นตอนนี้ จะทำการนัดคนไข้ ประมาณ 2-3 ครั้ง แต่ในบางกรรีก็สามารถเสร็จได้ภายในครั้งเดียว ในโรงพยาบาลหรือคลินิกที่มีอุปกรณ์

  • การผ่าตัดตกแต่งเหงือก

    Date: 2013.06.13 | Category: ทันตกรรมปริทันต์, บทความทันตกรรม | Response: 0

    Crown Lengthening

    Crown Lengthening

    ศัลยกรรมเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน
    การ ผ่าตัดเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวของฟัน โดยปกติจะทำกับฟันหน้า การเพิ่มความสูงของตัวฟัน เพื่อเพิ่มความสวยงามให้กับฟันที่เข้ารับการทำครอบฟันหรือเคลือบผิวฟันเพื่อความสวยงาม ไม่ยากไม่นานค่ะ (แต่ส่วนใหญ่ต้องฉีดยาชาก่อนนะคะ) ใช้เวลาแค่1 ชั่วโมง สามารถทำศัลยกรรมได้ง่ายมากค่ะ กลับบ้านได้เลยไม่ต้องพักต่อที่คลินิกค่ะ

  • ทันตกรรมบดเคี้ยว

    Date: 2013.06.11 | Category: ทันตกรรมบดเคี้ยว, บทความทันตกรรม | Response: 0

    ทันตกรรมบดเคี้ยว


    ทันตกรรมบดเคี้ยว Occlusion


    Splint

    นอกจากเรื่องเหงือกและฟันแล้วกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรของท่านก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในบางครั้งบางคนมีการนอนกัดฟัน ซึ่งสามารถทำให้ฟันสึก ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรได้ หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์เฉพาะทางของเรา

    การนอนกัดฟัน เป็น อาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยวหรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร นอกจากจะมีปัญหากับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้วการนอนกัดฟันยังก่อให้เกิดปัญหากับตัวเองด้วย ปัญหาดังกล่าวได้แก่ อาการฟันสึก ในบางรายมีอาการฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน เห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้มและมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น

    นอกจากอาการฟันสึกแล้วยังมีอาการปวดที่บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกรซึ่งอยู่หน้ารูหูในเวลาที่ตื่นนอนตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่บดเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้

    สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Bruxism)

    การนอนกัดฟัน

    น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

    1. จากสภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟันที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเกหรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไปโดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทนซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยวโดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว

    2. สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอนโดยเราไม่รู้สึกตัวได้

    วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

    ไปพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน ได้แก่ การกรอปรับสบฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ Splint หรือเฝือกสบฟันเพื่อลดการสึกของฟัน Splint นั้นมีลักษณะเป็นอะครีลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้นและในเวลาที่เราใส่ Splint หรือเฝือกสบฟันนั้น ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ

  • การจัดฟัน ระบบ ดามอน (Damon)

    Date: 2013.06.11 | Category: จัดฟัน, บทความทันตกรรม | Response: 0

    Damon 3 System

    Damon 3 System เป็นเครื่องมือจัดฟันซึ่งตัวBracketครึ่งโลหะครึ่งโพลีเมอร์เพื่อความสวยงาม ถูกออกแบบและผลิตขึ้นตามปรัชญญาการจัดฟันในระบบ Damon ที่เน้นการใช้แรงปริมาณต่ำในการเคลื่อนฟันโดยอาศัยคุณลักษณะ พิเศษของแบรกเก็ตที่สามารถล็อคลวดได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้ยางหรือลวด ทำให้ฟันเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็วแม้จะได้รับแรงเพียงเล็กน้อย ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการจัดฟันด้วยเครื่องมือในระบบนี้รู้สึกสบายเพราะได้รับแรงในปริมาณน้อยกว่า และไม่ต้องมาพบทันตแพทย์บ่อยๆ

    The Damon  3 System

    แบบแผนของการจัดฟันยุคใหม่

    ไม่ต้องถอนฟันโดยไม่จำเป็น

    ความเสียดทานต่ำ…ใช้แรงน้อย

    ฟันเคลื่อนที่ได้เร็ว

    ไม่ต้องนัดทันตแพทย์ทุกเดือน

    ไม่ต้องใช้ยางรัด O- Ring

    ไม่มี(ลวดลิกเกเจอร์ที่เส้นเล็กๆ)พันให้เกะกะ Ligature Wire

    ไม่ต้องดัดลวด Loop

    ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์จากทันตแพทย์จัดฟันโดยเฉพาะทางเท่านั้น

    Damon System

    การจัดฟันทั่วไปนั้น บ่อยครั้งที่ต้องการการถอนฟันที่มีสุขภาพดี หรือต้องใช้ palatal expanders เพื่อเพิ่มช่องว่างของฟัน ซึ่งการจัดฟันทั่วไปนั้นคนไข้มักจะประสบกับความไม่สะดวกสบายระหว่างการจัด ฟัน ใช้เวลานาน และยังได้รูปของฟันในลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ การจัดฟันแบบ Damon เป็นการจัดฟันแบบใหม่สำหรับคนไข้ที่ต้องการการจัดฟัน ที่ใช้แรงยึดดึงเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องถอนฟันโดยไม่จำเป็น และยังถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อการจัดฟันให้เข้ากับใบหน้าทั้งหมด ของแต่ละคนไข้อีกด้วย

    ประเภทการจัดฟันDamon

    ของปัจจุบันที่ได้พัฒนาความสามารถของระบบการจัดฟันของDamon ตามลำดับ

    1. แบบ Damon 3 เป็นกึ่งโลหะกึ่งใส โพลีเมอร์ ราคา65,000

    2. แบบ Damon MX เป็นโลหะ ราคา65,000

    3. แบบ Damon Q เป็นโลหะตัวBracket จะตัวเล็กกว่ารุ่นอื่น การเปิดปิดของบานพับจะไม่สะเทือนความรู้สึกจะดีกว่ารุ่นอื่น รู้สึกสบายกว่า ราคา70,000

    4. แบบ Damon Clear แบบใสโพลีเมอร์ ราคา 75,000

    ตัวอย่างสำหรับเคสที่จัดฟันแบบระบบดามอน

    Time: 18 months | Appointments: 11

    Before treatment

    After treatment

    Time: 14 months | Appointments: 7

    Before treatment


    After treatment

    Time: 22 months | Appointments: 12

    Before treatment

    After treatment

  • ฟันปลอม

    Date: 2013.02.07 | Category: ทันตกรรมประดิษฐ์, บทความทันตกรรม | Response: 0

    ฟันปลอม False Teeth (Dentures)

    ฟันปลอมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทดแทนฟันที่สูญเสียไป สามารถถอดออกได้และแบบติดแน่น

    ฟันปลอมแบ่งเป็น 3 ลักษณะ

    1.ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน

    2.ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

    3.ฟันปลอมทั้งปาก
    1. ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน สะพานฟัน เป็นฟันปลอมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันซี่ข้างเคียง เพื่อทำครอบฟันเป็นหลักยึดของสะพานฟัน เพื่อทำฟันปลอม การทำครอบที่ฟันหลักจะช่วยป้องกันฟันผุและให้ความสวยงาม
    กรณีที่เหมาะในการทำสะพานฟัน
    1.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงสั้น มีฟันหน้าและฟันหลังของช่วงฟันที่ถอนไป
    2.ฟันหน้าที่ถูกถอนไป และมีสภาพสันเหงือกที่ปกติ
    3.ในรายที่สูญเสียฟันหลัง และเว้นช่องมีฟันหน้าหายไปด้วย ถ้าทำฟันปลอมชนิดถอดได้โดยใช้ฟันซี่โดดเป็นหลัก ฟันโดดจะไม่แข็งแรงพอจะเป็นฟันหลักได้ แต่ถ้าทำสะพานฟันยึดติดฟันหน้า ฟันโดดและฟันหลัง จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น

    สะพานฟัน Bridge

    2. ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

    กรณีที่เหมาะในการทำฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้
    1.ฟันหลักด้านท้ายไม่มีทำให้ไม่มีฟันหลักเพื่อยึดสำหรับทำสะพานฟัน
    2.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว
    3.ช่วงที่เพิ่งถอนฟันไปใหม่ๆ เหงือกยังไม่ยุบสนิทดี ถ้าคอยจนแผลหายเหงือกจะยุบลงไปอีก อาจทำฟันปลอมชนิดถอดได้ใส่ไปก่อนเมื่อสันเหงือกยุบสนิทดีจึงมาเสริมฐานฟันปลอมต่อ การใส่ฟันเร็วจะช่วยคงสภาพสันเหงือกทำให้เหงือกเต็มไม่ยุบตัวมาก

    การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องมีตะขอโยงเพื่อยึดฟันอาจทำให้รู้สึกรำคาญเป็นที่กักขังของเศษอาหาร รับประทานอาหารไม่สะดวกและไม่สวยงาม

    Partial denture ฟันปลอมถอดได้

    Partial denture ฟันปลอมถอดได้

    3.ฟันปลอมทั้งปาก

    การทำฟันปลอมทั้งปาก
    1.ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่แล้ว

    2.ฟันที่เหลืออยู่มีน้อยซี่ รูปร่างฟัน, กระดูกยึดรอบรากฟันไม่ดีฟันโยกมาก ใช้เป็นหลักยึดไม่ได้

    3.สุขภาพช่องปากไม่ดี มีฟันผุมาก ควรถอดทิ้งแล้วทำฟันปลอมทั้งปาก

    4.ฟันที่เหลืออยู่ไม่สวย อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดี มีแนวด้านสบฟันห้อยหรืออยู่นอกสันเหงือก หากทำฟันปลอมถอดได้หรือติดแน่นโดยยึดแนวฟันเดิมจะไม่ได้ความแข็งแรงที่ดี ขาดการยึดแน่น และไม่สวยงาม

    Denture ฟันปลอม

    Cosmetic, Denture

    เม็ดฟู่สามารถทำความสะอาดฟันปลอม

    เม็ดฟู่ ล้างฟันปลอม

    เม็ดฟู่สามารถทำความสะอาดฟันปลอม, ลดคราบพลัค และคราบอาหารได้ดี
    ปัญหาของการทำความสะอาดฟันปลอม
    – การทำความสะอาดฟันปลอมด้วยยาสีฟัน และแปรงสีฟันเป็นเรื่องปกติของผู้ใส่ฟันปลอม แต่รู้ไม่ว่าการใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดหยาบมาทำความสะอาดฟันปลอมจะทำให้ฟันปลอมเกิดรอยสึกหรือขีดข่วน และจะกลายเป็นแหล่งสะสมที่ดีของแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก
    – เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม ( โพลิเดนท์) สามารถทำความสะอาดฟันปลอมได้แตกต่างจากยาสีฟันได้ดี สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปากและไม่ทำให้ฟันปลอมเป็นรอยสึก สามารถซอกซอนทำความสะอาดไปตามจุดต่างๆที่แปรงเข้าไม่ถึง

  • ทันตกรรมรักษารากฟัน

    Date: 2013.01.19 | Category: บทความทันตกรรม, รักษารากฟัน | Response: 0

  • ทันตกรรมสำหรับเด็ก

    Date: 2013.01.19 | Category: ทันตกรรมสำหรับเด็ก, บทความทันตกรรม | Response: 0

    ทันตกรรมเด็ก

    ทันตกรรมเด็ก

    เราทราบดีว่า ฟันของบุตรหลานของท่านสำคัญสำหรับท่านมาก และเราก็รู้สึกเช่นนั้น! โปรดวางใจให้ทันตแพทย์เฉพาะทาง ของเราช่วยให้ บุตรหลานของท่านมีสุขภาพปากและฟันที่ดียิ่งขึ้น

    จะป้องกันฟันผุได้อย่างไร?

    จะป้องกันฟันผุได้อย่างไร?

    การมีสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยให้มีแบคทีเรียและเศษอาหารที่เป็นตัวการของฟันผุลดลงได้ สำหรับในเด็กทารกนั้น ควรใช้ผ้าก๊อซเปียกหรือผ้านุ่มสะอาดมาทำความสะอาดช่องปาก เหงือก และฟัน เพื่อกำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกไป และหากบุตรหลานของท่านชอบหลับไปโดยต้องดูดขวด ก็พึงระวังอย่าให้ของเหลวในขวดนั้นเป็นอย่างอื่นใดเลยนอกจากน้ำสะอาดเท่านั้น (อ่านเพิ่มเติมใน “ ฟันผุจากการดูดนมขวด”)

    สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาแล้ว ควรแปรงฟัน อย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนั้น ควรตรวจตราดูปริมาณของกินเล่นที่มีน้ำตาลที่ท่านให้บุตรหลานของท่านกินด้วย อย่าให้มากจนเกินไป

    ฟันน้ำนม

    ฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุได้ 6-7 เดือน และจะทยอยขึ้นจนเต็มเมื่ออายุได้ 2-3 ขวบ เมื่อฟันน้ำนมขึ้นครบแล้ว ผู้ปกครองควรดูแลสุขภาพฟันของลูกด้วยการสอนให้แปรงฟันอย่างถูกวิธี เมื่อเด็กอายุ 6 ขวบ ฟันแท้จะเริ่มขึ้นมาแทนที่ ฟันแท้ซี่แรกคือฟันกรามซี่ในสุดซึ่งจะขึ้นหลังจากฟันน้ำนมซี่สุดท้าย ผู้ปกครองส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นฟันน้ำนม จึงไม่ได้เอาใจใส่ โดยที่ด้านบดเคี้ยวของฟันซี่นี้จะมีหลุมร่องลึกเป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์ และสิ่งสกปรกได้ดี เป็นเหตุให้มีโอกาสเกิดฟันผุสูง จึงขอแนะนำให้ทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ทำให้ร่องฟันตื้นขึ้นง่ายต่อการทำความสะอาด ฟันแท้ของเด็กจะทยอยขึ้นจนเต็มเมื่ออายุ 12 ขวบ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานมาพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบฟันผุก็สามารถรับการรักษาก่อนที่การผุจะลุกลามทำให้การรักษายากยิ่งขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายสูง หรือหากพบว่ามีฟันขึ้นซ้อนเก การสบฟันผิดปกติทันตแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำ และให้การรักษาเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น หรือถ้ามีปัญหาเรื่องทันตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถขอคำแนะนำจากทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆได้ เพื่อสร้างความมั่นใจในรอยยิ้มของท่าน

    ฟลูออไรด์

    ฟลูออไรด์

    ฟลูออไรด์ เป็นส่วนประกอบของธาตุฟลูออรีนเป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย มีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน ฟลูออรีนที่พบในร่างกายจะอยู่ในลักษณะเป็นสารผสมเรียกว่า ฟลูออไรด์ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ โซเดียมฟลูออไรด์ ที่ใช้เจือปนกับน้ำดื่มและแคลเซียมฟลูออไรด์ที่พบตามธรรมชาติ ฟลูออไรด์มีผลต่อฟันโดยจะรวมกับแร่ธาตุที่จะเป็นผลึกของฟันทำให้ฟันที่ยังไม่ขึ้นมีความแข็งแรง และเมื่อฟันขึ้นแล้วฟลูออไรด์ช่วยทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุกลับสู่ผิวเคลือบฟันช่วยในการซ่อมแซมฟันที่มีรอยผุระยะเริ่มแรก และยังส่งผลให้คราบจุลินทรีย์ที่สะสมบนตัวฟันลดการสร้างกรดที่เป็นอันตรายต่อฟันอีกด้วย การนำฟลูออไรด์มาใช้ในการช่วยป้องกันฟันผุมี 2 รูปแบบ

    – โดยการรับประทาน

    – การสัมผัสผิวเคลือบฟัน

    เคลือบฟลูออไรด์

    คุณพ่อคุณแม่พาเด็กมาพบทันตแพทย์ เพื่อขัดฟันและเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง สำหรับฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์เคลือบให้นั้น จากการศึกษาเชื่อว่า มีผลป้องกันฟันผุในด้านผิวเรียบของตัวฟันมากกว่าด้านการบดเคี้ยวที่มีหลุมและร่องลึก ดังนั้นในฟัน กรามที่มีด้านบดเคี้ยวที่มีหลุมและร่องลึก ดังนั้นในฟันกรามที่มีด้านบดเคี้ยวเป็นพื้นผิวขรุขระ เป็นหลุม และร่องลึก มักจะเป็นบริเวณที่ผุง่าย เนื่องจากการตกค้างของเศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ขณะเดียว ขณะเดียวกันขนแปรงสีฟันมีขนาดใหญ่กว่า ไม่สามารถแทรกเข้าไปทำความสะอาดได้ จึงมักเกิดฟันผุ บริเวณนี้

    ช่วงอายุที่เหมาะสมในการเคลือบหลุมร่องฟัน (Sealant)

    – เด็กอายุ 3-4 ปี ระยะที่ฟันกรามน้ำนมขึ้นครบ

    – เด็กอายุ 6-7 ปี ระยะที่ฟันกรามแท้ขึ้นซี่แรกขึ้น

    – เด็กอายุ 11-13 ปี ระยะที่ฟันกรามน้อย และกรามแท้ซี่ที่สองขึ้นด้วยวิธีการข้างต้น ถ้าคุณแม่

    ผู้ปกครอง ดูแลเอาใจใส่และทำตาม จะมีผลให้สุขภาพช่องปากของลูกสะอาดปราศจากฟันผุและมีผลไปถึงสุขภาพกายและจิตใจที่ดีด้วย

    เครื่องมือกันฟันล้ม ( space maintainer ) สำหรับเด็ก

    เครื่องมือกันฟันล้ม

    เรามาทำความรู้จักเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะต้องใส่ไว้ในปาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็คงจะเคยกันมาบ้างแล้ว โดยที่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่า ทำไมลูกของคุณ ทำไมจึงต้องใส่เจ้าเครื่องมือนี้ด้วย

    เครื่องมือนี้เรียกกันว่าเป็นเครื่องมือ “กันที่” บางทีก็เรียกเป็เครื่องมือกันฟันล้ม ( space maintainer ) ซึ่งก็เรียกตามหน้าที่การใช้งานของมันนั่นเอง เพราะเจ้าเครื่องมือที่ว่านี้ ทำหน้าที่ในการรักษาระยะห่างระหว่างฟันเอาไว้ไม่ให้ลดลงหรือหายไป โดยที่มันจะประกอบไปด้วยส่วนที่ไปสวมฟันที่อยู่หลังช่องว่างเพื่อใช้เป็นหลัก และส่วนที่ยื่นออกมาสัมผัสหรือแตะกับฟันที่อยู่ข้างหน้าช่องว่างนั้น เพื่อเป็นตัวค้ำยันไม่ให้ฟันข้างหลังขยับมาในช่องว่าง

    เมื่อพบว่ามีช่องว่างจากการถอนฟันไปก่อนวัยอันควร ในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 12 ปี หรือในเด็กที่ฟันกรามน้อยยังไม่ขึ้น

    ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม หรือเครื่องมือกันที่นี้ การใส่ก็ไม่ยุ่งยากและ(มักจะ)ไม่เจ็บ โดยในครั้งแรก

    ทันตแพทย์จะลอง “แบนด์” (Band)ซึ่งมีลักษณะเหมือนแหวนสวมไปที่ฟันที่จะใช้เป็นหลักเพื่อหาขนาดที่พอดีกับฟันซี่นั้นๆก่อน จากนั้นจึงพิมพ์ปากเพื่อจำลองแบบในปากออกมาใช้ในการทำเครื่องมืออีกที

    – เครื่องชนิดนี้จะมีหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่ว่าฟันของแต่ละคนจะเหมาะสมกับ space maintainer ชนิดไหน

    กรณีที่ต้องใส่Space maintainer

    ถ้าหากว่าการแทนที่ของฟันแท้เป็นไปอย่างปกติก็จะทำให้ฟันแท้ที่ขึ้นตามหลังมาเรียงตัวกันได้ดี แต่ที่เป็นปัญหาก็คือเด็กๆมักมีการสูญเสียฟันไปก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะฟันกรามน้ำนมที่ควรจะหลุดเมื่ออายุ 11-12 ปี แต่ก็อาจถูกถอนไปตั้งแต่มีอายุเพียง 7-8 ปีซึ่งทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้น ฟันกรามแท้ที่ขึ้นมาแล้วหรือฟันกรามน้ำนมที่เหลืออยู่ก็จะขยับหรือล้มมาข้างหน้าเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว ทำให้ฟันแท้(ฟันกรามน้อย)ที่จะขึ้นมาเมื่ออายุ 12 ปีตรงตำแหน่งนั้นไม่มีที่พอ จึงเกิดการซ้อนเกขึ้นและซึ่งจะมีปัญหาตามมา ดังนั้นถ้าบุตรหลานของท่านมีปัญหาฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลาอันสมควร ควรมาปรึกษาทันตแพทย์นะค่ะ

    ทันตกรรมเด็ก

    การรักษารากฟันเด็ก

    การรักษารากฟันเด็ก

    เมื่อฟันผุลึกมากขึ้นจนถึงโพรงประสาทฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการปวด ในระยะนี้จะทำการอุด หรือครอบฟันเลยไม่ได้ จะต้องทำการรักษารากฟันหรือรักษาโพรงประสาทฟันก่อน pulpotomy and pulpectomy. อย่าเข้าใจผิดคิดว่าฟันน้ำนมผุแล้วไม่มีผลอะไร เดี๋ยวฟันแท้ก็ขึ้นมาแทนที่ เพราะหากผุมาก ๆ เกิดการอักเสบบวมมาก ๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือถ้าหากเด็กต้องเสียฟันน้ำนมไปก่อนวัยอันควรจะทำให้การขึ้นของฟันแท้ไม่สมดุล

    -ในฟันที่อาการปวดเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่นความร้อน ความเย็น การอุดติดของเศษอาหาร เมื่อกำจัดสิ่งกระตุ้นแล้วก็จะหายปวด อาการเช่นนี้หากทันตแพทย์กรอเนื้อฟันผุแล้วพบว่ารอยผุเกือบทะลุโพรงประสาทฟัน หรือมีรอยทะลุเป็นจุดเล็ก ๆ ก็จะทำการรักษาโดยการรักษาโพรงประสาทฟัน (Pulpotomy) ซึ่งการรักษาโพรงประสาทฟันจะทำโดยการกรอกำจัดเนื้อโพรงประสาทฟันเฉพาะในส่วนตัวฟัน ไม่ถึงรากฟัน ใส่ยา และอุดฟันด้วยวัสดุอุด จากนั้นจึงทำการครอบฟัน

    – หากฟันผุ ที่เด็กมีอาการปวด แบบอยู่เฉย ๆ ก็ปวด ตื่นขึ้นมาร้องไห้ปวดตอนกลางคืน อาการเช่นนี้บ่งบอกถึงการผุที่ทะลุโพรงประสาทฟันไปแล้ว หรือในกรณีที่ฟันผุมาก ๆ แต่เด็กไม่มีอาการปวด โดยให้ประวัติว่าเคยปวด แต่หายไปแล้ว (ซึ่งกรณีนี้เกิดจากฟันผุจนเส้นประสาทฟันถูกทำลายไปจนหมด จึงไม่มีเส้นประสาทฟันรับความรู้สึกปวดหลงเหลืออยู่) ซึ่งกรณีนี้จะทำการรักษาโดยการรักษารากฟัน (Pulpectomy) โดยจะทำการกำจัดเนื้อโพรงประสาทฟันทั้งในส่วนของตัวฟันและรากฟันจนหมด ทำการใส่วัสดุเข้าไปแทนที่ จากนั้นจึงทำการครอบฟัน

    ทันตกรรมเด็ก

    ทันตกรรมเด็ก