• ทันตกรรมบดเคี้ยว

    Date: 2013.06.11 | Category: ทันตกรรมบดเคี้ยว, บทความทันตกรรม | Tags:

    ทันตกรรมบดเคี้ยว


    ทันตกรรมบดเคี้ยว Occlusion


    Splint

    นอกจากเรื่องเหงือกและฟันแล้วกล้ามเนื้อบดเคี้ยวและข้อต่อขากรรไกรของท่านก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในบางครั้งบางคนมีการนอนกัดฟัน ซึ่งสามารถทำให้ฟันสึก ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรได้ หากท่านเป็นผู้หนึ่งที่มีปัญหาดังกล่าว โปรดปรึกษาแพทย์เฉพาะทางของเรา

    การนอนกัดฟัน เป็น อาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยวหรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร นอกจากจะมีปัญหากับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้วการนอนกัดฟันยังก่อให้เกิดปัญหากับตัวเองด้วย ปัญหาดังกล่าวได้แก่ อาการฟันสึก ในบางรายมีอาการฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน เห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้มและมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น

    นอกจากอาการฟันสึกแล้วยังมีอาการปวดที่บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกรซึ่งอยู่หน้ารูหูในเวลาที่ตื่นนอนตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่บดเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้

    สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Bruxism)

    การนอนกัดฟัน

    น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ

    1. จากสภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟันที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเกหรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไปโดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทนซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยวโดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว

    2. สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอนโดยเราไม่รู้สึกตัวได้

    วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน

    ไปพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน ได้แก่ การกรอปรับสบฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่ Splint หรือเฝือกสบฟันเพื่อลดการสึกของฟัน Splint นั้นมีลักษณะเป็นอะครีลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้นและในเวลาที่เราใส่ Splint หรือเฝือกสบฟันนั้น ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ