• เกร็ดความรู้

    knowledge


    การดูแลสุขภาพฟัน


    ข้อพึ่งปฏิบัติในระหว่างจัดฟัน

    ข้อพึงปฏิบัติขณะจัดฟัน
    -แปรงฟันตอนเช้า ก่อนนอนและหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ แปรงฟันด้วยวิธีปกติ วางขนแปรงเอียง 45 องศา
    กับขอบเหงือกขยับขนแปรงในแนวหน้า หลัง เป็นระยะสั้นๆแล้วปัดแปรงลงไปทางปลายฟัน แปรงให้ทั่วทั้งด้านนอก
    ด้านในและด้านบดเคี้ยว แปรงบริเวณเครื่องมือจัดฟัน วางขนแปรงบนเครื่องมือจัดฟันหมุดไปมาบนเครื่องมือจัดฟัน
    หลังจากนั้นเอียงขยับขนแปรงขึ้นลงที่ส่วนบน และ ใต้เครื่องมือ ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดตามซอกฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน
    – หลีกเลี่ยงการกระแทกของเครื่องมือจัดฟันกับอาหารแข็ง หรือวัสดุอื่น เช่น กัด กระดุกอาหาร ผลไม้ที่แข็งๆ
    – ไปพบทันตแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการนัดหมาย

    Retainer

    Retainer Clear Aligner

    Clear retainer รีเทนเนอร์แบบพลาสติกถอดได้และใสทั้งชิ้น, ถอดและใส่เองได้ง่าย ผู้อื่นสังเกตุเห็นได้ยากเหมาะสำหรับคนไข้ที่ไม่ต้องการให้ผู้อื่นเห็นว่าใส่รีเทนเนอร์และทำให้มั่นใจในการยิ้มมากขึ้น

    รีเทนเนอร์แบบใส สามารถถอดได้นี้้มีข้อดีคือควบคุมฟันได้ 360 องศาและซึ่งทำให้ฟันไม่เคลื่อนที่ออกไปจากตำแหน่งเดิมได้

    วิธีเก็บรักษารีเทนเนอร์

    ควรเก็บรีเทนเนอร์ไว้ในกล่องพลาสติกที่สามารถพกพาได้สะดวก ไม่ควรห่อด้วยกระดาษทิชชู เพราะอาจสูญหายได้ และอาจทำให้รีเทนเนอร์รูปร่างเปลี่ยนได้
    เนื่องจากก่อนจัดฟัน ฟันเคยซ้อน เก ห่าง หรือยื่นมาก่อน หลังจากจัดฟันเสร็จตำแหน่งของฟันนั้นได้เปลี่ยนไปจากเดิมตั้งแต่เกิด จึงจำเป็นต้องอาศัยระยะเวลาให้ฟันได้ปรับตัวเองให้อยู่ในตำแหน่งใหม่หลังการจัดฟัน นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆที่ทำให้ฟันกลับไปอยู่ในตำแหน่งเดิมก่อนการจัดฟัน เช่น แรงจากการบดเคี้ยวและกัดอาหาร เมื่อมีแรงมากระทำต่อตัวฟันหรือแรงดุนจากลิ้น ฟันก็สามารถเคลื่อนกลับไปสู่ตำแหน่งเดิมก่อนการจัดฟันได้ การใส่รีเทนเนอร์จะช่วยประคองฟันไว้ไม่ให้เคลื่อนจากตำแหน่งที่ได้จัดฟันไว้เรียบร้อยแล้ว

    คราบหินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร

    คราบฟันหรือหินปูนเกิดขึ้นได้อย่างไร

    หินปูนหรือหินน้ำลาย คือ แผ่นคราบจุลินทรีย์ที่แข็งตัวเนื่อง จากมีธาตุแคลเซียม จากน้ำลายเข้าไปตกตะกอน แผ่นคราบจุลินทรีย์ หรือ Bacterial plaque คือ คราบสีขาวขุ่นนิ่ม ที่ประกอบด้วยเชื้อโรคติดอยู่บนตัวฟัน แม้ว่าจะบ้วนน้ำ ก็ไม่สามารถหลุดออกได้ขบวนการเกิดคราบจุลินทรีย์ เริ่มต้นหลังจากที่แปรงฟัน แล้วเพียง 2-3 นาทีโดยจะมีเมือกใสของน้ำลาย มาเกาะที่ตัวฟัน จากนั้นเชื้อโรคที่มีอยู่มากในปากจะมาเกาะทับถมกันมากๆ เข้าเกิดเป็นคราบจุลินทรีย์ คราบจุลินทรีย์นี้เองเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด โรคฟันผุและโรคปริทันต์ เมื่อรับประทานอาหารเข้าไปคราบจุลินทรีย์นี้ จะใช้น้ำตาลจากอาหาร สร้างกรดและสารพิษโดยกรดจะทำลายเคลือบฟัน ทำให้ฟันผุ สารพิษจะทำให้เหงือกอักเสบทำให้เกิดโรคปริทันต์ ถ้าไม่กำจัดคราบจุลินทรีย์ โดยการทำความสะอาดฟันและเหงือกอย่างดีทุกวัน คราบนี้จะเพิ่มมากขึ้น และทำอันตรายต่อฟันและเหงือกมักพบคราบจุลินทรีย์มาก โดยเฉพาะที่คอฟัน บริเวณขอบเหงือกและซอกฟันสามารถใช้สีย้อม ให้เห็นคราบได้ชัดเจน แต่ในรายที่คราบหนามากๆสามารถเห็นและรู้สึกได้ เมื่อใช้ลิ้นสัมผัสไปตามฟัน

    ความจำเป็นในการขูดหินปูน

    บนพื้นผิวหินน้ำลาย จะมีคราบจุลินทรีย์ปกคลุมหินน้ำลายที่โผล่พ้นขอบเหงือก จะมองเห็นได้ แต่ส่วนที่อยู่ใต้เหงือกจะมองไม่เห็น หินปูนหรือคราบจุลินทรีย์ ที่ยึดติดอยู่บนหินปูนใต้เหงือกไม่สามารถกำจัดออกได้ โดยวิธีการทำความสะอาดฟันด้วยตัวเองต้องอาศัยทันตแพทย์ ช่วยกำจัดหินปูนให้ ทันตแพทย์จะขูดหินปูนออกทั้งเหนือเหงือกและใต้เหงือก จากนั้นทำการเกลารากฟันให้เรียบ (root planning) ปราศจากคราบหินปูน เพื่อให้เหงือกยึดแน่น รอบตัวฟันเหมือนเดิม

    สาเหตุการนอนกัดฟัน

    สาเหตุของการนอนกัดฟัน ( Bruxism )
    การนอนกัดฟัน เป็นอาการหนึ่งของผู้ที่มีความผิดปกติด้านการบดเคี้ยว หรือมีปัญหาการทำงานของขากรรไกร นอกจากจะมีปัญหากับคนที่นอนข้างๆ หรือเพื่อนร่วมห้องแล้ว การนอนกัดฟัน ยังก่อให้เกิดปัญหากับตัวเองด้วย ปัญหาดังกล่าวได้แก่ อาการฟันสึก ในบางรายมีอาการฟันสึกจนถึงชั้นเนื้อฟัน เห็นเนื้อฟันสีเหลืองเข้ม และมีอาการเสียวฟันเวลาที่ดื่มน้ำร้อน หรือ น้ำเย็น

    นอกจากอาการฟันสึกแล้วยังมีอาการปวดที่บริเวณข้อต่อกระดูกขากรรไกร ซึ่งอยู่หน้ารูหู ในเวลาที่ตื่นนอนตอนเช้าจะรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณข้อต่อขากรรไกร หรือเวลาที่บดเคี้ยวอาหารก็จะรู้สึกเจ็บปวดได้
    สาเหตุของการนอนกัดฟัน (Bruxism)
    น่าจะเกิดจาก 2 สาเหตุ คือ
    1. จากสภาพฟัน อาจมีจุดสูงที่อยู่บนตัวฟัน ที่อาจเกิดจากวัสดุอุดฟัน มีการเรียงกันของฟันที่ผิดปกติ ฟันซ้อนเก หรือเป็นโรคปริทันต์ หรือในคนไข้ที่สูญเสียฟันแท้ไป โดยที่ไม่ได้ใส่ฟันปลอมทดแทน ซึ่งถ้าว่าจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยธรรมชาติของคนเราจะพยายามกำจัดจุดสูงหรือจุดขัดขวางการบดเคี้ยว โดยพยายามบดเคี้ยวให้จุดสูงนั้นหมดไป มักจะเกิดในเวลาที่เรานอนหลับ ซึ่งเป็นเวลาที่เราไม่รู้สึกตัว
    2. สภาพของจิตใจ การดำเนินชีวิตประจำวันอาจมีความเครียด เนื่องจากความเร่งรีบในการทำงานก็เป็นสาเหตุที่ให้เรานอนกัดฟันในเวลานอน โดย เราไม่รู้สึกตัวได้

    วิธีการแก้ไขอาการนอนกัดฟัน
    ไปพบทันตแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแก้ไขอาการนอนกัดฟัน ได้แก่ การกรอปรับสบฟันให้อยู่ในสภาวะปกติ โดยส่วนใหญ่แล้วทันตแพทย์จะแนะ นำให้ใส่ Splint หรือเฝือกสบฟัน เพื่อลดการสึกของฟัน Splint นั้น มีลักษณะเป็น อะครีลิคใส แข็ง ใสในฟันบน หรือฟันล่าง ใส่เฉพาะในเวลานอนตอนกลางคืนเท่านั้น และในเวลาที่เราใส่ Splint หรือเฝือกสบฟันนั้น ทันตแพทย์จะนัดมาตรวจเป็นระยะๆ

    GC tooth Mousse

    GC Tooth Mousse

    GC Tooth Mousse สามารถป้องกันและรักษาอาการฟันด่างขาว
    GC Tooth Mousse คือ ครีมสำหรับบำรุงและปกป้องผิวฟัน ซึ่งมีส่วนผสมสำคัญคือสาร CPP-ACP (Casein Phosphopeptide – Amorphous Calcium Phosphate) หรือที่รู้จักกันในชื่อของสาร Recaldent เมื่อทา GC Tooth mousse ไปบนผิวฟัน Tooth mousse จะผสานตัวเข้ากับน้ำลายที่เคลือบอยู่บนผิวฟันเกิดเป็นชั้นฟิล์มที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุแคลเซียม และฟอสเฟต ที่เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผิวฟัน ผิวฟันจึงมีความทนทานต่อสภาวะความเป็นกรดในช่องปาก ทำให้ฟันเงางามและแลดูสดใสยิ่งขึ้น

    GC Tooth Mousse เป็นยาสีฟันที่ใช้เคลือบฟันเพื่อป้องกันฟันผุ และการตกกระของฟันอันเนื่องมาจากการรับสารฟลูออไรด์มากเกินไป
    GC Tooth Mousse สามารถปรับผิวฟันตกกระให้เรียบเนียนเงางามลดอาการเสียวฟัน และทำให้ฟันแข็งแรง ยิ่งผู้ที่มีเหงือกร่น ใช้แล้วจะช่วยบรรเทาอาการเหงือกร่นได้ดีค่ะ

    New Tooth brush

    New Tooth brush

    แปรงสีฟันที่ใช้กันเป็นประจำ อาจเป็นที่รวมตัวของเชื้อแบคทีเรีย วันนี้เกร็ดความรู้มีวิธีดูแลรักษาแปรงสีฟันมาฝากกัน …
    วิ ธี ดู แ ล รั ก ษ า แ ป ร ง สี ฟั น
    – อย่าใช้แปรงสีฟันร่วมกัน เพราะการใช้แปรงร่วมกัน โอกาสสัมผัสกับน้ำลาย เลือด ของอีกคนได้ง่ายมาก ๆ เสี่ยงต่อการติดเชื้อโดยตรง
    – ล้างขนแปรงด้วยน้ำก๊อก หลังจากแปรงฟันเสร็จ เพื่อเอายาสีฟันที่ค้างและสิ่งสกปรกออก แล้ววางให้ตั้งตรง ให้ขนแปรงถูกอากาศพัดให้แห้ง หากมีแปรงหลายอัน ก็อย่าให้ขนแปรงมาชนกันหรือสัมผัสกันเพื่อป้องกันการ ปนเปื้อน
    – อย่าเก็บแปรงในกล่องปิด เพราะแบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีในที่ชื้น ๆ แต่ถ้าขนแปรงถูกอากาศ ก็จะไม่เปียก แบคทีเรียไม่ชอบ
    – ควรเปลี่ยนแปรงสีฟันทุก ๆ 3-4 เดือน อย่าใช้แปรงจนขนแปรงบาน เพราะประสิทธิภาพในการขจัดเอาเศษอาหารจะลดลง แถมยังอาจทำร้ายเหงือกอีกด้วย
    รู้อย่างนี้แล้วก็เก็บรักษาแปรงสีฟันให้ดี ๆ เพื่อห่างไกลจากแบคทีเรีย

    การแปรงฟัน

    การทำความสะอาดผิวฟันด้านนอก
    วางขนแปรงชิดกับขอบเหงือก ขนแปรงเอียงทำมุม 45 องศากับตัวฟันและเหงือก ขนแปรงชี้ขึ้นสำหรับฟันบน และชี้ลงสำหรับฟันล่าง แปรงในลักษณะขยับเบาๆในแนวหน้า-หลังเป็นระยะทางสั้นๆ แล้วปัดลงในฟันบน และปัดขึ้นในฟันล่าง วนให้ทั่วทั้งปาก เริ่มจากซ้ายไปขวา และฟันบนลงมาฟันล่าง
    -การทำความสะอาดฟันด้านบดเคี้ยว
    วางขนแปรงบริเวณด้านบดเคี้ยวของฟัน แปรงในลักษณะถูไป-มา ตามแนวฟัน ทั่วทั้งปาก
    – การทำความสะอาดผิวฟันด้านในของฟันหลัง
    วางขนแปรงให้ชิดขอบเหงือก เช่นเดียวกับแปรงฟันด้านนอก แปรงในลักษณะขยับเบาๆแล้วปัดลงในฟันบน ปัดขึ้นในฟันล่าง แปรงให้ทั่วด้านในของฟันหลัง
    – การทำความสะอาดฟันด้านหลังของฟันหน้า
    วางแปรงในแนวตั้ง ใช้ปลายแปรงสีฟันแปรงด้านหลังของฟันหน้าแต่ละซี่ โดยขยับเบาๆ ทั้งฟันหน้าบนและฟันหน้าล่าง
    – การแปรงที่ลิ้น อย่าลืมแปรงที่ลิ้นด้วยนะคะ เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์และป้องกันไม่ให้เกิดกลิ่นปากได้ค่ะ
    การเคลือบฟลูออไรด์

    Fluoride

    Fluoride
    ฟลูออไรด์ เป็นส่วนประกอบของธาตุฟลูออรีนเป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย มีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน ฟลูออรีนที่พบในร่างกายจะอยู่ในลักษณะเป็นสารผสมเรียกว่า ฟลูออไรด์ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ โซเดียมฟลูออไรด์ ที่ใช้เจือปนกับน้ำดื่มและแคลเซียมฟลูออไรด์ที่พบตามธรรมชาติ ฟลูออไรด์มีผลต่อฟันโดยจะรวมกับแร่ธาตุที่จะเป็นผลึกของฟันทำให้ฟันที่ยังไม่ขึ้นมีความแข็งแรง และเมื่อฟันขึ้นแล้วฟลูออไรด์ช่วยทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุกลับสู่ผิวเคลือบฟันช่วยในการซ่อมแซมฟันที่มีรอยผุระยะเริ่มแรก และยังส่งผลให้คราบจุลินทรีย์ที่สะสมบนตัวฟันลดการสร้างกรดที่เป็นอันตรายต่อฟันอีกด้วย การนำฟลูออไรด์มาใช้ในการช่วยป้องกันฟันผุมี 2 รูปแบบ ได้แก่

    1.โดยการรับประทาน

    1.1 ฟลูออไรด์ในอาหาร อาหารหลายชนิดมีแร่ธาตุฟลูออไร ด์ อย่างเช่น ใบชา อาหารทะเลต่างๆ ปลาแห้ง กุ้งแห้ง น้ำมันตับปลา กระเทียม กะหล่ำปลี ผักโขม ไข่แดง ข้าวต่างๆ แอปเปิ้ล องุ่น กล้วย เชอรี่ หัวแครอท ผักใบเขียว กระจับ ถั่ว ข้าวโพด หัวไชเท้า มะเขือ หัวหอม มันฝรั่ง เนย เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น
    1.2 ฟลูออไรด์ในน้ำ ฟลูออไรด์สามารถพบได้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ละพื้นที่จะมีปริมาณฟลูออไรด์แตกต่างกัน ซึ่งในบางพื้นที่อาจมีปริมาณฟลูออไรด์ที่ต่ำ จึงอาจต้องมีการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำประปา
    1.3 ฟลูออไรด์ในรูปแบบของยาได้แก่ ยาเม็ดฟลูออไรด์ เป็นต้น ควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์หรือทันตแพทย์
    1.4 การเติมฟลูออไรด์ในเกลือ พบมีการใช้ในบางประเทศ และการใช้เกลือผสมฟลูออไรด์จะให้ผลในการป้องกันโรคฟันผุได้ใกล้เคียงกับการได้รับฟลูออไรด์ในน้ำดื่ม
    1.5 การเติมฟลูออไรด์ในนม (Milk Fluoridation)

    2. การสัมผัสผิวเคลือบฟัน

    2.1 ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ใช้ได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ควรใช้ยาสีฟันในปริมาณน้อย เพียงแค่ขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว เนื่องจากเด็กยังไม่สามารถควบคุมการกลืนได้ดี ถ้าใช้ในปริมาณยาสีฟันมากเกินไป เด็กอาจจะกลืนยาสีฟันลงไปทำให้เกิดอันตรายได้
    2.2 น้ำยาบ้วนปากผสมฟลูออไรด์ นิยมใช้ในเด็กตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไป ในผู้ใหญ่ที่มีฟันผุลุกลาม รวมถึง คนที่มีโอกาสเสี่ยงจะเกิดฟันผุได้ง่าย เช่น คนที่ได้รับการฉายแสงรักษาโรคบริเวณใบหน้า ลำคอเพราะน้ำลายจะน้อย ผู้ที่ใส่เครื่องมือจัดฟัน
    2.3 การเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ เป็นการใช้ฟลูออไรด์ในความเข้มข้นที่สูง ไม่แนะนำให้เคลือบฟลูออไรด์ในเด็กอายุน้อยกว่า 3 ปี เนื่องจากมีโอกาสกลืนฟลูออไรด์สูงมาก

    การได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่เพียงพอจะมีประโยชน์ต่อฟันและร่างกาย ในทางตรงกันข้ามถ้าได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไปอาจจะมีผลเสียได้

    หมั่นทำความสะอาดฟันปลอมนะค่ะ เพื่อลมหายใจที่สดชื่นและเพื่อความมั่นใจของท่าน

    – ควรแปรงฟันและทำความสะอาดฟันปลอมทุกครั้งหลังอาหาร
    – การเก็บรักษาฟันปลอมทำได้โดย นำฟันปลอมที่ทำความสะอาดแล้ว ใส่ไว้ในภาชนะสำหรับแช่ฟันปลอม เช่น แก้วน้ำ โดยให้ระดับน้ำสูงกว่าฟันปลอม การแช่ฟันในขณะที่ไม่ได้ใช้งาน จะช่วยป้องกันไม่ให้ฟันปลอมแห้ง หรือบิดเบี้ยวได้ ซึ่งจะช่วยให้อายุการใช้งานนานขึ้น

    ผักและผลไม้
    ความรู้เรื่องฟัน
    1. เลือกรับประทานอาหารที่มีความจำเป็นต่อเหงือกและฟัน ผักผลไม้ที่มีความแข็งและเส้นใย
    : ผักผลไม้ที่มีความแข็งและเส้นใย ก็จะช่วยทำความสะอาดฟันและเนื้อเยื่อด้วย แต่อาหารที่มีความนุ่มและเหนียว มีโอกาสที่จะติดอยู่ตามซอกฟันและทำให้เกิดคราบแบคทีเรียได้ง่าย ทุกครั้งที่คุณรับประทานอาหาร และเครื่องดื่มที่มีแป้งและน้ำตาล แบคทีเรียจะทำให้เกิดกรดที่ทำลายฟันได้เป็นระยะเวลา 20 นาทีหรือนานกว่านั้น เพื่อที่จะลดความเสียหายต่อเคลือบฟัน ควรจำกัดความถี่ในการรับประทานอาหารว่างระหว่างมื้อ และควรจะเลือกรับประทานอาหารว่างที่มีประโยชน์ เช่น เนยแข็ง ผักสด โยเกิร์ต หรือผลไม้
    2. น้ำอัดลม ตัวการสำคัญของปัญหาสุขภาพช่องปาก
    : สมาคมกุมารเวชศาสตร์แห่งสหรัฐอเมริกา ออกประกาศเตือนถึงพิษภัยของการบริโภคน้ำอัดลม โซดา ว่าเป็นแหล่งสำคัญในการทำให้เกิดอาการฟันผุ เพราะกรดและกรดที่เกิดจากน้ำตาลในน้ำอัดลม จะไปทำให้สารเคลือบฟันอ่อนบางลง ซึ่งส่งผลให้เกิดการก่อตัวของฟันผุ ในกรณีร้ายแรง สารเคลือบฟันที่อ่อนบางลง ประกอบกับการแปรงฟันที่ไม่ถูกวิธี จะทำให้เกิดการผุกร่อนของฟัน ควรเปลี่ยนมาดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำตาลน้อย ๆ เช่น น้ำเปล่า นม น้ำผลไม้ 100% และหลังจากดื่มน้ำที่มีรสหวาน ควรบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าเสมอ
    3. การดูแลแปรงสีฟัน และการเปลี่ยนแปรงสีฟัน
    : แปรงสีฟันที่มีการใช้งานมานานกว่า 3 เดือนจะมีประสิทธิภาพในการกำจัดคราบพลัคที่อยู่บนเหงือก และฟันได้ต่ำกว่าแปรงสีฟันอันใหม่ เพราะขนแปรงจะเริ่มหมดสภาพ
    4. แปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง
    5. ใช้ไหมขัดฟันทุกวัน
    6. จำกัดการรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล
    7. รับประทานส้มทุกวัน : เพราะจะทำให้คุณได้รับวิตามินซี ซึ่งมีการวิจัยมาแล้วว่าจะช่วยลดอาการอักเสบบวมของเหงือก ที่มาของปัญหาทางช่องปากและฟัน
    8. พบทันตแพทย์ ทุก 6 เดือน เป็นประจำ
    Instruction after surgery Dental Extraction
    สาระความรู้เกี่ยวกับข้อแนะนำการรักษาทางทันตกรรม
    การถอนฟัน

    1. หลังถอนฟันให้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ซ.ม. (1/2 ซ.ม. ถ้าเป็นการถอนฟันน้ำนม) อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซเล่น
    2. หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟันให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดต่อให้แน่นอีก 1/2 ซ.ม.
    3. ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ช.ม. หลังถอนฟัน ควรแปรงฟันให้สะอาดหลังอาหาร และก่อนนอน โดยระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล
    4. ตลอดหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ถอนฟัน ให้อมน้ำเกลือบ้วนปากเบาๆ (ใช้เกลือป่น 1/2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)
    5. รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :
    o ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด
    o ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด


    ศัลยกรรมในช่องปาก
    ในการผ่าตัดฟันคุด และศัลยกรรมในช่องปากอื่นๆ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อแนะนำหลังการถอนฟัน และมีข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
    1. ในวันแรกหลังการผ่าตัด ควรประคบเย็นด้านนอกปาก บริเวณที่ใกล้แผลผ่าตัด โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรอมน้ำแข็ง
    2. เริ่มประคบร้อนในวันที่ 2 โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น่จัดบิดให้หมาด อาการบวมจะลดลงเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์
    3. งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
    4. สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด และร้อนจัด
    5. กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด

    6. การรักษาความสะอาด สำคัญมากต่อการหายของแผล
    – ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ทันตแพทย์ให้ไป เป็นน้ำยาบ้วนปากรักษาเฉพาะการรักษาหลังการถอนฟัน Difflam หรือ C20 ) บ้วนวันละ 2 ครั้ง เช้า – ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)

    Difflam Mouthwash

    ข้อพึงปฏิบัติขณะจัดฟัน

    –  แปรงฟันตอนเช้า ก่อนนอนและหลังรับประทานอาหารทุกมื้อ แปรงฟันด้วยวิธีปกติ วางขนแปรงเอียง 45  องศากับขอบเหงือกขยับขนแปรงในแนวหน้า หลัง เป็นระยะสั้นๆแล้วปัดแปรงลงไปทางปลายฟัน แปรงให้ทั่วทั้งด้านนอกด้านในและด้านบดเคี้ยว แปรงบริเวณเครื่องมือจัดฟัน วางขนแปรงบนเครื่องมือจัดฟันหมุดไปมาบนเครื่องมือจัดฟัน หลังจากนั้นเอียงขยับขนแปรงขึ้นลงที่ส่วนบน และ ใต้เครื่องมือ ใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดตามซอกฟันอย่างน้อยวันละครั้งก่อนนอน

    – หลีกเลี่ยงการกระแทกของเครื่องมือจัดฟันกับอาหารแข็ง หรือวัสดุอื่น เช่น กัด กระดุกอาหาร

    – ไปพบทันตแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่องเมื่อมีการนัดหมาย

    การเตรียมตัวก่อนเริ่มจัดฟัน

    การเตรียมตัวก่อนเริ่มจัดฟัน

    1. ก่อนการจัดฟัน จะต้องมีการถ่ายภาพรังสีส่วนศีรษะ 2 ชนิดหลักๆ คือ พาโนรามิก (Panoramic film) และ ภาพถ่ายกระโหลกด้านข้าง (Lateral Cephalometric film) เพื่อวิเคราะห์ดูว่า ฟันและกระดูกขากรรไกร มีความผิดปกติอย่างไรหรือไม่ ซึ่งในบางกรณี อาจต้องการภาพถ่ายรังสือชนิดอื่นเพิ่มเติม เช่น กรณี ที่หน้าดูเบี้ยว ก็อาจต้องเพิ่มภาพถ่ายรังสีหน้าตรง เพื่อเทียบข้างซ้ายและขวา ว่า กระดูกโครงสร้างขากรรไกรผิดปกติด้วยหรือเปล่า เป็นต้น

    2. นอกจากนั้น ยังต้องมีแบบจำลองฟัน ซึ่งได้มาโดยการพิมพ์ปาก( cast model) เพื่อใช้วิเคราะห์การเรียงตัวของฟัน และดูขนาดพื้นที่ของขากรรไกรเทียบกับขนาดฟันทั้งหมดว่าเพียงพอเหมาะสมกันหรือไม่ และเป็นการเก็บข้อมูล ก่อนจัดฟัน เทียบกับหลังจัดฟัน ได้อีกด้วย

    3. หากเป็นไปได้ ก็ควรมีการถ่ายภาพใบหน้า และ ในช่องปาก ทั้งก่อนและหลังจัดฟันเอาไว้ด้วย เพื่อเทียบกัน ภาพถ่ายจะสื่อให้เห็นว่า ฟันมีสีและรอยอะไรมาก่อนจัดฟันแล้วได้ด้วย แต่ก็ไม่ถึงกับจำเป็นมากนัก

    4. นอกจากนั้น ก่อนการติดเครื่องมือจัดฟันลงบนตัวฟัน เพื่อเริ่มการจัดฟัน ควรมีการตรวจสภาพช่องปากและฟันให้ละเอียดก่อน ว่ามีหินปูน หรือ มีฟันผุ หรือมีฟันคุด หรือไม่ ควรได้รับการรักษาเสียก่อน และหากการจัดฟันนั้นๆ จำเป็นต้องมีการถอนฟันเพื่อการจัดฟัน ก็ควรถอนให้เรียบร้อยก่อนติดเครื่องมือ

    หากสงสัยในรายละเอียดของการจัดฟัน ควรปรึกษาสอบถามทันตแพทย์จัดฟันของท่านให้ละเอียด ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ของตัวท่านเองค่ะ


    แปรงฟันก่อนนอน

    สาเหตุทำไมต้องแปรงฟันก่อนนอนค่ะ !!!!!!

    การแปรงฟันก่อนนอนเป็นสิ่งสำคัญ เพราะว่าขณะที่เรานอน ส่วนต่างๆ ของร่างกายต้องการพักผ่อน รวมทั้งต่อมน้ำลายซึ่งเป็นที่ผลิตน้ำลาย ก็จะผลิตน้ำลายน้อยลง ในช่องปากก็จะมีน้ำลายลักษณะเหนียว ถ้าไม่แปรงฟันก่อนนอน เชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากจะได้อาหารจากเศษอาหารจำพวกแป้งน้ำตาลที่ฟันเข้าไปตกค้างในปาก เปลี่ยนสภาพเป็นกรดหรือสารพิษ จากการที่น้ำลายน้อยลง ทำให้การชะล้างในปากจากน้ำลายมีน้อย กรดก็จะมีมากขึ้นเรื่อย ทำให้ในช่องปากมีสภาพเป็นกรด เมื่อฟันสัมผัสอยู่ตลอดเวลาก็เกิดฟันผุได้ง่าย