Archive for the ‘ศัลยกรรมช่องปาก’ Category

  • ศัลยกรรมช่องปาก

    Date: 2013.06.13 | Category: บทความทันตกรรม, ศัลยกรรมช่องปาก | Response: 0

    ศัลยศาสตร์ช่องปาก Oral Surgery


    ศัลยศาสตร์ช่องปาก

    ศัลยศาสตร์ช่องปาก Oral Surgery

    ศัลยกรรมช่องปากเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผ่าตัด ซึ่งทันตแพทย์จะทำการตรวจวินิจฉัย และการวางแผนการรักษาก่อนที่จะเริ่มการรักษา โดยศัลยกรรมช่องปากประกอบด้วย

    1. การผ่าตัดเพื่อผ่าฟันคุด

    2. การถอนฟัน

    3. การผ่าตัดเพื่อปลูกถ่ายกระดูก

    4. การปรับตำแหน่งขากรรไกรล่าง (Mandibular setback/advancement)

    5. การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความผิดปกติของกระดูกขากรรไกร (Surgical correction of jaw excess/deficiency)

    6. ศัลยกรรมปลูกกระดูกวิธี Sinus Lift

    การบูรณะฟันบริเวณฟันหลังของขากรรไกรบนด้วยรากเทียม มีข้อพิจารณาสำคัญอยู่ที่การละลายตัวของกระดูกรองรับฟันจากการที่สูญเสียฟัน ไป ทำให้เกิดปัญหาต่อการปลูกรากเทียมในบริเวณขากรรไกรบนเนื่องจากขาดกระดูกใน การรองรับรากเทียม จึงต้องทำการเสริมกระดูกก่อนที่จะผ่าตัดฝังรากเทียมด้วยวัสดุเสริมกระดูก อาทิเช่น กระดูกของผู้เข้ารับการรักษาเอง, กระดูกมนุษย์, กระดูกสัตว์ หรือกระดูกสังเคราะห์ โดยการเสริมกระดูกสามารถทำได้ทั้งในแนวกว้าง, แนวสูง และการปลูกกระดูกในบริเวณพื้นโพรงอากาศแม็กซิลลา โดยการผ่าตัดเพื่อฝังรากเทียมในบริเวณกระดูกขากรรไกรบนด้านหลังนี้ จำเป็นต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ ในการวางแผน วินิจฉัยการรักษา รวมทั้งเทคนิคต่างๆในการผ่าตัดเสริมกระดูกในบริเวณนี้เป็นอย่างดี

    การถอนฟัน


    การถอนฟัน

    ขั้นตอนการถอนฟัน

    1. ขั้นตอนการตรวจวินิจฉัย

    2. ทันตแพทย์จะทำการตรวจในช่องปากและพิจารณาถึงความจำเป็นในการถอนฟัน

    3. ในบางกรณีการถ่ายเอ๊กซเรย์อาจมีความจำเป็นเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาซึ่งสามารถบอกสภาพฟัน รากฟันและกระดูกรองรับฟันได้


    x-ray

    x-ray ฟิล์มใหญ่

    ทันตแพทย์จะทำการจดบันทึกข้อมูลและประวัติด้านสุขภาพของผู้ป่วย ซึ่งผู้ป่วยควรให้ข้อมูลด้านสุขภาพของตนที่ถูกต้องและครบถ้วน โดยเฉพาะปัญหาที่เคยเกิดขึ้นเมื่อได้รับการถอนฟัน ปัญหาการหยุดไหลของเลือด ปัญหาสุขภาพเช่นโรคตับ และโรคเบาหวาน และการแพ้อาหารและยาประเภทต่างๆ เป็นต้น

    การเตรียมบริเวณฟันที่จะได้รับการถอน

    ทันตแพทย์จะทำการฉีดยาชาบริเวณที่จะทำการถอนฟัน

    เริ่มการถอนฟัน

    ทันตแพทย์จะให้คำแนะนำและข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลรักษาหลังการถอนฟัน

    หลังการถอนฟัน ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ทันที เลือดจะหยุดไหลภายในเวลาสั้นๆ และแผลจะสามารถสมานตัวได้เอง แต่การดูแลรักษาความสะอาดยังคงมีความสำคัญเพื่อหลีกเลี่ยงการอักเสบติดเชื้อบริเวณแผลได้ และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องออกแรงมากๆ หรือการอยู่กลางแจ้ง

    ฟันคุด

    การถอนฟันคุด

    ฟันคุดที่ไม่ขึ้น ขึ้นบางส่วน หรือขึ้นเต็มแต่ไม่ได้ใช้งานเพราะขึ้นล้มเอียงเข้าหาลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม มักถูกถอนออกไป ซึ่งการถอน การถอนฟันคุดนั้น มีทั้งแบบถอนออกด้วยวิธีปกติ และการผ่าตัด การผ่าตัดมักทำในฟันคุดที่ขึ้นบางส่วนพร้อมทั้งล้มเอียง ยากแก่การดึงออกทั้งซี่ ทันตแพทย์จะทำการกรอแบ่งฟันออกเป็นชิ้นเล็กๆก่อนที่จะ ค่อยๆหยิบฟันแต่ละชิ้นออกมา การกรอแบ่งฟันทำเพื่อให้ดึงฟันออกง่าย ไม่กระทบกระเทือนต่อฟันซี่ใกล้เคียง ทำให้การรักษาสำเร็จรวดเร็ว ลดการบวมหรือชอกช้ำของเหงือกบริเวณที่ถอนฟันคุดนั้น

    ฟันกรามซี่ที่อยู่่ในสุด หรือฟันกรามใหญ่ซี่ที่3 มักไม่ขึ้นในช่องปาก เนื้อจากเป็นฟันซี่สุดท้ายที่ขึ้นมาในบางครั้งพบว่าขนาดของซี่ฟันใหญ่กว่าช่องที่เหลืออยู่ ทำให้ฟันกรามซี่นี้ขึ้นได้บางส่วน หรือขึ้นไม่ได้เลย หากขึ้นได้บางส่วน และมักเอียงชนฟันกรามซี่หน้า ทำให้มีการผุ กร่อน มีกลิ่นปากจากเศษอาหารติดหมักหมมตรงซอกฟัน และนำไปถึงอาการฟันข้างเคียงโยก ปวด บวม อักเสบ ตั้งแต่ปานกลางจนถึงรุนแรง ในบางกรณีพบว่าเนื้องอกและถุงน้ำมีการเกิดร่วมกับฟันคุดได้ด้วย

    ปัญหาฟันคุดที่กวนใจหลายๆคน ทำไมเราถึงต้องถอนฟันคุดกัน

    ผลที่เกิดจากฟันคุดและข้อบ่งชี้ในการถอน

    1. การอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด (Pericoronitis)  เป็นผลของฟันคุดล่างที่พบได้บ่อยที่สุดเกิดกับฟันที่ขึ้นมาบางส่วน  การอักเสบหรือการติดเชื้อจะเกิดใน follicle ที่เหลือตกค้าง  (หุ้มตัวฟันคุด) ซึ่งอยู่ระหว่างฟันคุดกับกระดูกและเหงือกรอบ ๆ
    2. ฟันผุ  เศษอาหารมักติดในซอกระหว่างฟันคุดกับฟันข้างเคียง  ทำให้ฟันทั้งสองซี่ผุได้ง่าย  แม้จะอุดแล้วก็มีโอกาสผุอีก  การถอนฟันคุดออกจึงเป็นการป้องกันไม่ให้ฟัน second molar ผุ  (การอุดฟัน second molar จะอุดหลังจากถอนฟันคุดออกไปแล้ว เพื่อป้องกันวัสดุอุดแตกขณะถอนฟันคุด)
    3. เกิดถุงน้ำ ฟันคุดล่างจะเป็นฟันที่เกี่ยวข้องกับการเกิด dentigerous (follicular) cyst  บ่อยที่สุด  อาจไม่มีอาการปวด    พบโดยภาพถ่ายรังสี  กระดูกจะถูกทำลายไปเรื่อย ๆ พบการบวมหรือการขยายใหญ่ของกระดูกขากรรไกรได้  กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่อาจดันฟันคุดให้เคลื่อนห่างไปจากตำแหน่งเดิมได้มาก  เช่น ไปอยู่ใกล้ขอบล่างของขากรรไกรหรือบริเวณ ramus เป็นต้น
    4. อาการปวด  ฟันคุดอาจทำให้เกิดอาการปวดบริเวณที่มันอยู่  หรือปวดร้าวไปยังบริเวณอื่น  อาการปวดอาจเป็นผลจากการอักเสบของเหงือกรอบฟันคุด  ฟันผุ  รากฟันข้างเคียงละลาย  โรคปริทันต์ หรือพยาธิสภาพรอบรากฟัน หรือหาสาเหตุไม่ได้  คนไข้ทีมีอาการปวดบริเวณฟันคุดหรือปวดตื้อ ๆ บริเวณขมับหรือบริเวณใกล้เคียงโดยที่หาสาเหตุอื่นไม่พบ อาการปวดดังกล่าวอาจหายไปหลังจากถอนฟันคุดออก
    5. ฟันซ้อน  เชื่อว่าแรงดันจากฟันคุดจะทำให้ฟันหน้าล่างเกซ้อนได้  จึงแนะนำให้ถอนฟันคุดในคนไข้จัดฟันก่อนหรือหลังการจัดฟัน

    ข้อห้ามในการถอนฟันคุด

    1.            ในคนแก่ที่ฟันคุดฝังอยู่ในกระดูกลึก ๆ โดยไม่มีอาการ  ไม่มีพยาธิสภาพและไม่มีทางติดต่อกับช่องปาก

    2.            สุขภาพร่างกายของคนไข้ไม่ดี ไม่พร้อมที่จะรับการผ่าตัด

    3.            ฟันคุดที่อาจใช้เป็นฟันหลัก (abutment)  ได้ หรือกรณีที่อาจต้องถอนฟัน second molar แต่ต้องคำนึงถึงอายุและการเอียงตัวของฟันคุดได้

    สาระความรู้เกี่ยวกับข้อแนะนำการรักษาทางทันตกรรม

    การถอนฟัน

    1. หลังถอนฟันให้กัดผ้าก๊อซให้แน่น 1 ซ.ม. (1/2 ซ.ม. ถ้าเป็นการถอนฟันน้ำนม) อย่าพูดหรือเคี้ยวผ้าก๊อซเล่น
    2. หลังเอาผ้าก๊อซออก หากพบว่ายังมีเลือดออกจากแผลที่ถอนฟันให้วางผ้าก๊อซชิ้นใหม่ที่แผลถอนฟัน และกัดต่อให้แน่นอีก 1/2 ซ.ม.
    3. ไม่บ้วนน้ำลายหรือกลั้วปากแรงๆ ภายใน 24 ช.ม. หลังถอนฟัน ควรแปรงฟันให้สะอาดหลังอาหาร และก่อนนอน โดยระวังอย่าให้โดนบริเวณแผล
    4. ตลอดหนึ่งสัปดาห์หลังจากวันที่ถอนฟัน ให้อมน้ำเกลือบ้วนปากเบาๆ (ใช้เกลือป่น 1/2 ช้อนชาผสมน้ำอุ่น 1 แก้ว)
    5. รับประทานยาตามที่ทันตแพทย์แนะนำ :
    o ยาแก้ปวด รับประทานครั้งละ 1-2 เม็ด เมื่อมีอาการปวด
    o ยาปฏิชีวนะ (เฉพาะบางราย) ต้องรับประทานให้ครบจนยาหมด


    ศัลยกรรมในช่องปาก
    ในการผ่าตัดฟันคุด และศัลยกรรมในช่องปากอื่นๆ ให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับข้อแนะนำหลังการถอนฟัน และมีข้อควรปฏิบัติเพิ่มเติม ดังนี้
    1. ในวันแรกหลังการผ่าตัด ควรประคบเย็นด้านนอกปาก บริเวณที่ใกล้แผลผ่าตัด โดยใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบ เพื่อช่วยลดอาการบวมที่จะเกิดขึ้น ไม่ควรอมน้ำแข็ง
    2. เริ่มประคบร้อนในวันที่ 2 โดยใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น่จัดบิดให้หมาด อาการบวมจะลดลงเป็นปกติภายใน 1 สัปดาห์
    3. งดการใช้งานของฟันด้านที่รับการผ่าตัดจนแผลหายดี งดการออกกำลังกายที่หักโหม และกีฬาทางน้ำ ซึ่งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้
    4. สัปดาห์แรกหลังการผ่าตัด ควรรับประทานอาหารอ่อน งดอาหารเผ็ด และร้อนจัด
    5. กลับไปพบทันตแพทย์ตามที่นัดหมาย (ประมาณ 1-2 สัปดาห์) เพื่อตัดไหม และตรวจดูความเรียบร้อยของแผลผ่าตัด

    6. การรักษาความสะอาด สำคัญมากต่อการหายของแผล

    – ควรใช้น้ำยาบ้วนปาก (ที่ทันตแพทย์ให้ไป เป็นน้ำยาบ้วนปากรักษาเฉพาะการรักษาหลังการถอนฟัน Difflam หรือ C20 ) บ้วนวันละ 2 ครั้ง เช้า – ค่ำ อมไว้ในปาก 1 นาที (ใช้ตามคำแนะนำข้างขวด ใช้จนกว่าน้ำยาจะหมด)