Posts Tagged ‘ฟันปลอม’

  • รากฟันเทียม (Dental Implants)

    Date: 2013.08.01 | Category: FAQ | Response: 0

    Q :  รากฟันเทียม คืออะไร ?

    A: ชนิดต่างๆ ของรากฟันเทียม

    ชนิดของรากเทียม

    รากฟันเทียม ทำมาจากวัสดุที่เข้ากันได้ดีกับร่างกายของเรา ใช้ทดแทนฟันที่หายไปได้ทั้งส่วนของรากและส่วนตัวฟัน รากฟันเทียมโดยทั่วไปในยุคปัจจุบันมักเป็นเกลียวหรือทรงกระบอกที่ทำมาจากโลหะไทเทเนียม

    ไทเทเนียมเป็นโลหะที่พิเศษ กล่าวคือ มันจะยึดตึดกับกระดูกโดยไม่มีชั้นใดๆ มาขวางกั้น การที่ไทเทเนียมยึดแน่นกับกระดูกนี้ เรียกกันว่า osseo integration ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของไทเทเนียมคือ มันจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ร่างกายยอมรับได้ดี ไม่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อช่องปาก และเพราะคุณสมบัติที่เข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ จึงมีการใช้ไทเทเนียมกันอย่างกว้างขวางในทางการแพทย์ เช่น การฝังเข้าไปในสะโพก หัวเข่า ฯลฯ

    โดยทั่วไปแล้ว รากฟันเทียมจะมีความยาวตั้งแต่ 6–15 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร ปัจจุบัน มีหลากหลายบริษัทผู้ผลิตรากฟันเทียม แต่มีเพียงไม่กี่ระบบที่มีผลการศึกษาและวิจัยถึงผลการใช้งานในระยะยาว

    Q: ใส่รากฟันเทียมอย่างไร ?

    A: ต้องมีการวางแผนการรักษาที่ดีและครอบคลุมก่อนในขั้นแรก ภาพถ่ายรังสีและแบบจำลองฟันที่ได้จากการพิมพ์ปากจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการประเมินปริมาณกระดูกในแง่ของความกว้างและลึก ดังนั้น จะสามารถวางแผนสำหรับเลือกขนาดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมได้


    การทำรากฟันเทียม เป็นกระบวนการทางศัลยกรรมที่ทำภายใต้ภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้อาจก่อให้เกิดความเครียดต่อคนไข้ได้ การใช้ก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ (ก๊าซหัวเราะ) หรืออาจเป็นยาสงบประสาท อาจถูกนำมาใช้ได้ในบางกรณี ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและสบายขึ้นในการทำรากฟันเทียมที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น เช่น ในกรณีที่มีการเติมปริมาณกระดูก อาจพิจารณาใช้การดมยาสลบสำหรับคนที่กลัวการทำฟันมากๆ ได้ โดยจะต้องอาศัยบุคคลากรที่ชำนาญการโดยเฉพาะ

    เมื่อเหงือกและเนื้อเยื่อหมดความรู้สึก (ชา) ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือออกอย่างระมัดระวัง แล้วกรอกระดูกจนมีขนาดพอเหมาะกับรากฟันเทียมที่เลือกไว้ แล้วใส่รากฟันเทียม (เฉพาะในส่วนของราก) ลงไป จากนั้น ก็จะเย็บปิดเหงือกด้านบนเอาไว้ รอเวลาให้แผลหาย โดยในระหว่างนี้ อาจมีฟันปลอมให้ใช้งานไปก่อนได้ แล้วแต่กรณี

    ถึงเวลาใส่ฟันลงไปบนรากฟันเทียม

    เมื่อถึงเวลาที่รากฟันเทียมเฉพาะในส่วนของรากเชื่อมติดแน่นดีกับกระดูกโดยรอบ ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์ ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือกออกมาอีกครั้ง เพื่อใส่ฟันลงไปบนรากฟันเทียมที่อยู่ภายในกระดูกแล้ว ซึ่งอาจใช้วิธีปกติ หรือใช้เลเซอร์ก็ได้ กระบวนการใส่ฟัน จะประกอบไปด้วยการพิมพ์ปาก ส่งงานไปแล็บ แล้วเมื่อได้ชิ้นงานฟันปลอม ก็จะนำมาใส่ลงไปบนรากฟันเทียมนั้นๆ ได้เลย


  • ฟันปลอม

    Date: 2013.02.07 | Category: ทันตกรรมประดิษฐ์, บทความทันตกรรม | Response: 0

    ฟันปลอม False Teeth (Dentures)

    ฟันปลอมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทดแทนฟันที่สูญเสียไป สามารถถอดออกได้และแบบติดแน่น

    ฟันปลอมแบ่งเป็น 3 ลักษณะ

    1.ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน

    2.ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

    3.ฟันปลอมทั้งปาก
    1. ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน สะพานฟัน เป็นฟันปลอมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันซี่ข้างเคียง เพื่อทำครอบฟันเป็นหลักยึดของสะพานฟัน เพื่อทำฟันปลอม การทำครอบที่ฟันหลักจะช่วยป้องกันฟันผุและให้ความสวยงาม
    กรณีที่เหมาะในการทำสะพานฟัน
    1.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงสั้น มีฟันหน้าและฟันหลังของช่วงฟันที่ถอนไป
    2.ฟันหน้าที่ถูกถอนไป และมีสภาพสันเหงือกที่ปกติ
    3.ในรายที่สูญเสียฟันหลัง และเว้นช่องมีฟันหน้าหายไปด้วย ถ้าทำฟันปลอมชนิดถอดได้โดยใช้ฟันซี่โดดเป็นหลัก ฟันโดดจะไม่แข็งแรงพอจะเป็นฟันหลักได้ แต่ถ้าทำสะพานฟันยึดติดฟันหน้า ฟันโดดและฟันหลัง จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น

    สะพานฟัน Bridge

    2. ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

    กรณีที่เหมาะในการทำฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้
    1.ฟันหลักด้านท้ายไม่มีทำให้ไม่มีฟันหลักเพื่อยึดสำหรับทำสะพานฟัน
    2.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว
    3.ช่วงที่เพิ่งถอนฟันไปใหม่ๆ เหงือกยังไม่ยุบสนิทดี ถ้าคอยจนแผลหายเหงือกจะยุบลงไปอีก อาจทำฟันปลอมชนิดถอดได้ใส่ไปก่อนเมื่อสันเหงือกยุบสนิทดีจึงมาเสริมฐานฟันปลอมต่อ การใส่ฟันเร็วจะช่วยคงสภาพสันเหงือกทำให้เหงือกเต็มไม่ยุบตัวมาก

    การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องมีตะขอโยงเพื่อยึดฟันอาจทำให้รู้สึกรำคาญเป็นที่กักขังของเศษอาหาร รับประทานอาหารไม่สะดวกและไม่สวยงาม

    Partial denture ฟันปลอมถอดได้

    Partial denture ฟันปลอมถอดได้

    3.ฟันปลอมทั้งปาก

    การทำฟันปลอมทั้งปาก
    1.ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่แล้ว

    2.ฟันที่เหลืออยู่มีน้อยซี่ รูปร่างฟัน, กระดูกยึดรอบรากฟันไม่ดีฟันโยกมาก ใช้เป็นหลักยึดไม่ได้

    3.สุขภาพช่องปากไม่ดี มีฟันผุมาก ควรถอดทิ้งแล้วทำฟันปลอมทั้งปาก

    4.ฟันที่เหลืออยู่ไม่สวย อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดี มีแนวด้านสบฟันห้อยหรืออยู่นอกสันเหงือก หากทำฟันปลอมถอดได้หรือติดแน่นโดยยึดแนวฟันเดิมจะไม่ได้ความแข็งแรงที่ดี ขาดการยึดแน่น และไม่สวยงาม

    Denture ฟันปลอม

    Cosmetic, Denture

    เม็ดฟู่สามารถทำความสะอาดฟันปลอม

    เม็ดฟู่ ล้างฟันปลอม

    เม็ดฟู่สามารถทำความสะอาดฟันปลอม, ลดคราบพลัค และคราบอาหารได้ดี
    ปัญหาของการทำความสะอาดฟันปลอม
    – การทำความสะอาดฟันปลอมด้วยยาสีฟัน และแปรงสีฟันเป็นเรื่องปกติของผู้ใส่ฟันปลอม แต่รู้ไม่ว่าการใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดหยาบมาทำความสะอาดฟันปลอมจะทำให้ฟันปลอมเกิดรอยสึกหรือขีดข่วน และจะกลายเป็นแหล่งสะสมที่ดีของแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก
    – เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม ( โพลิเดนท์) สามารถทำความสะอาดฟันปลอมได้แตกต่างจากยาสีฟันได้ดี สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปากและไม่ทำให้ฟันปลอมเป็นรอยสึก สามารถซอกซอนทำความสะอาดไปตามจุดต่างๆที่แปรงเข้าไม่ถึง

  • ครอบและสะพานฟัน

    Date: 2012.12.28 | Category: ทันตกรรมประดิษฐ์, ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม, บทความทันตกรรม | Response: 0

  • รากฟันเทียม (Dental Implants)

    Date: 2012.12.28 | Category: บทความทันตกรรม, รากฟันเทียม | Response: 0