• การจัดฟัน ระบบ ดามอน (Damon)

    Date: 2013.06.11 | Category: จัดฟัน, บทความทันตกรรม | Response: 0

    Damon 3 System

    Damon 3 System เป็นเครื่องมือจัดฟันซึ่งตัวBracketครึ่งโลหะครึ่งโพลีเมอร์เพื่อความสวยงาม ถูกออกแบบและผลิตขึ้นตามปรัชญญาการจัดฟันในระบบ Damon ที่เน้นการใช้แรงปริมาณต่ำในการเคลื่อนฟันโดยอาศัยคุณลักษณะ พิเศษของแบรกเก็ตที่สามารถล็อคลวดได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องใช้ยางหรือลวด ทำให้ฟันเคลื่อนที่ไปได้อย่างรวดเร็วแม้จะได้รับแรงเพียงเล็กน้อย ทำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการจัดฟันด้วยเครื่องมือในระบบนี้รู้สึกสบายเพราะได้รับแรงในปริมาณน้อยกว่า และไม่ต้องมาพบทันตแพทย์บ่อยๆ

    The Damon  3 System

    แบบแผนของการจัดฟันยุคใหม่

    ไม่ต้องถอนฟันโดยไม่จำเป็น

    ความเสียดทานต่ำ…ใช้แรงน้อย

    ฟันเคลื่อนที่ได้เร็ว

    ไม่ต้องนัดทันตแพทย์ทุกเดือน

    ไม่ต้องใช้ยางรัด O- Ring

    ไม่มี(ลวดลิกเกเจอร์ที่เส้นเล็กๆ)พันให้เกะกะ Ligature Wire

    ไม่ต้องดัดลวด Loop

    ต้องอาศัยทักษะและประสบการณ์จากทันตแพทย์จัดฟันโดยเฉพาะทางเท่านั้น

    Damon System

    การจัดฟันทั่วไปนั้น บ่อยครั้งที่ต้องการการถอนฟันที่มีสุขภาพดี หรือต้องใช้ palatal expanders เพื่อเพิ่มช่องว่างของฟัน ซึ่งการจัดฟันทั่วไปนั้นคนไข้มักจะประสบกับความไม่สะดวกสบายระหว่างการจัด ฟัน ใช้เวลานาน และยังได้รูปของฟันในลักษณะที่ไม่สมบูรณ์ การจัดฟันแบบ Damon เป็นการจัดฟันแบบใหม่สำหรับคนไข้ที่ต้องการการจัดฟัน ที่ใช้แรงยึดดึงเพียงเล็กน้อย ไม่ต้องถอนฟันโดยไม่จำเป็น และยังถูกออกแบบมาอย่างเฉพาะเจาะจงเพื่อการจัดฟันให้เข้ากับใบหน้าทั้งหมด ของแต่ละคนไข้อีกด้วย

    ประเภทการจัดฟันDamon

    ของปัจจุบันที่ได้พัฒนาความสามารถของระบบการจัดฟันของDamon ตามลำดับ

    1. แบบ Damon 3 เป็นกึ่งโลหะกึ่งใส โพลีเมอร์ ราคา65,000

    2. แบบ Damon MX เป็นโลหะ ราคา65,000

    3. แบบ Damon Q เป็นโลหะตัวBracket จะตัวเล็กกว่ารุ่นอื่น การเปิดปิดของบานพับจะไม่สะเทือนความรู้สึกจะดีกว่ารุ่นอื่น รู้สึกสบายกว่า ราคา70,000

    4. แบบ Damon Clear แบบใสโพลีเมอร์ ราคา 75,000

    ตัวอย่างสำหรับเคสที่จัดฟันแบบระบบดามอน

    Time: 18 months | Appointments: 11

    Before treatment

    After treatment

    Time: 14 months | Appointments: 7

    Before treatment


    After treatment

    Time: 22 months | Appointments: 12

    Before treatment

    After treatment

  • ฟันปลอม

    Date: 2013.02.07 | Category: ทันตกรรมประดิษฐ์, บทความทันตกรรม | Response: 0

    ฟันปลอม False Teeth (Dentures)

    ฟันปลอมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการทดแทนฟันที่สูญเสียไป สามารถถอดออกได้และแบบติดแน่น

    ฟันปลอมแบ่งเป็น 3 ลักษณะ

    1.ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน

    2.ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

    3.ฟันปลอมทั้งปาก
    1. ฟันปลอมชนิดติดแน่นหรือสะพานฟัน สะพานฟัน เป็นฟันปลอมที่มีลักษณะใกล้เคียงกับฟันธรรมชาติโดยการกรอฟันซี่ข้างเคียง เพื่อทำครอบฟันเป็นหลักยึดของสะพานฟัน เพื่อทำฟันปลอม การทำครอบที่ฟันหลักจะช่วยป้องกันฟันผุและให้ความสวยงาม
    กรณีที่เหมาะในการทำสะพานฟัน
    1.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงสั้น มีฟันหน้าและฟันหลังของช่วงฟันที่ถอนไป
    2.ฟันหน้าที่ถูกถอนไป และมีสภาพสันเหงือกที่ปกติ
    3.ในรายที่สูญเสียฟันหลัง และเว้นช่องมีฟันหน้าหายไปด้วย ถ้าทำฟันปลอมชนิดถอดได้โดยใช้ฟันซี่โดดเป็นหลัก ฟันโดดจะไม่แข็งแรงพอจะเป็นฟันหลักได้ แต่ถ้าทำสะพานฟันยึดติดฟันหน้า ฟันโดดและฟันหลัง จะได้ความแข็งแรงมากขึ้น

    สะพานฟัน Bridge

    2. ฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้

    กรณีที่เหมาะในการทำฟันปลอมบางส่วนชนิดถอดได้
    1.ฟันหลักด้านท้ายไม่มีทำให้ไม่มีฟันหลักเพื่อยึดสำหรับทำสะพานฟัน
    2.ระยะช่วงที่ถอนฟันออกไปเป็นช่วงยาว
    3.ช่วงที่เพิ่งถอนฟันไปใหม่ๆ เหงือกยังไม่ยุบสนิทดี ถ้าคอยจนแผลหายเหงือกจะยุบลงไปอีก อาจทำฟันปลอมชนิดถอดได้ใส่ไปก่อนเมื่อสันเหงือกยุบสนิทดีจึงมาเสริมฐานฟันปลอมต่อ การใส่ฟันเร็วจะช่วยคงสภาพสันเหงือกทำให้เหงือกเต็มไม่ยุบตัวมาก

    การใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ ต้องมีตะขอโยงเพื่อยึดฟันอาจทำให้รู้สึกรำคาญเป็นที่กักขังของเศษอาหาร รับประทานอาหารไม่สะดวกและไม่สวยงาม

    Partial denture ฟันปลอมถอดได้

    Partial denture ฟันปลอมถอดได้

    3.ฟันปลอมทั้งปาก

    การทำฟันปลอมทั้งปาก
    1.ไม่มีฟันธรรมชาติเหลืออยู่แล้ว

    2.ฟันที่เหลืออยู่มีน้อยซี่ รูปร่างฟัน, กระดูกยึดรอบรากฟันไม่ดีฟันโยกมาก ใช้เป็นหลักยึดไม่ได้

    3.สุขภาพช่องปากไม่ดี มีฟันผุมาก ควรถอดทิ้งแล้วทำฟันปลอมทั้งปาก

    4.ฟันที่เหลืออยู่ไม่สวย อยู่ในตำแหน่งที่ไม่ดี มีแนวด้านสบฟันห้อยหรืออยู่นอกสันเหงือก หากทำฟันปลอมถอดได้หรือติดแน่นโดยยึดแนวฟันเดิมจะไม่ได้ความแข็งแรงที่ดี ขาดการยึดแน่น และไม่สวยงาม

    Denture ฟันปลอม

    Cosmetic, Denture

    เม็ดฟู่สามารถทำความสะอาดฟันปลอม

    เม็ดฟู่ ล้างฟันปลอม

    เม็ดฟู่สามารถทำความสะอาดฟันปลอม, ลดคราบพลัค และคราบอาหารได้ดี
    ปัญหาของการทำความสะอาดฟันปลอม
    – การทำความสะอาดฟันปลอมด้วยยาสีฟัน และแปรงสีฟันเป็นเรื่องปกติของผู้ใส่ฟันปลอม แต่รู้ไม่ว่าการใช้ยาสีฟันที่มีผงขัดหยาบมาทำความสะอาดฟันปลอมจะทำให้ฟันปลอมเกิดรอยสึกหรือขีดข่วน และจะกลายเป็นแหล่งสะสมที่ดีของแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก
    – เม็ดฟู่ทำความสะอาดฟันปลอม ( โพลิเดนท์) สามารถทำความสะอาดฟันปลอมได้แตกต่างจากยาสีฟันได้ดี สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียซึ่งเป็นสาเหตุของกลิ่นปากและไม่ทำให้ฟันปลอมเป็นรอยสึก สามารถซอกซอนทำความสะอาดไปตามจุดต่างๆที่แปรงเข้าไม่ถึง

  • ทันตกรรมรักษารากฟัน

    Date: 2013.01.19 | Category: บทความทันตกรรม, รักษารากฟัน | Response: 0

  • ทันตกรรมสำหรับเด็ก

    Date: 2013.01.19 | Category: ทันตกรรมสำหรับเด็ก, บทความทันตกรรม | Response: 0

    ทันตกรรมเด็ก

    ทันตกรรมเด็ก

    เราทราบดีว่า ฟันของบุตรหลานของท่านสำคัญสำหรับท่านมาก และเราก็รู้สึกเช่นนั้น! โปรดวางใจให้ทันตแพทย์เฉพาะทาง ของเราช่วยให้ บุตรหลานของท่านมีสุขภาพปากและฟันที่ดียิ่งขึ้น

    จะป้องกันฟันผุได้อย่างไร?

    จะป้องกันฟันผุได้อย่างไร?

    การมีสุขภาพช่องปากที่ดีจะช่วยให้มีแบคทีเรียและเศษอาหารที่เป็นตัวการของฟันผุลดลงได้ สำหรับในเด็กทารกนั้น ควรใช้ผ้าก๊อซเปียกหรือผ้านุ่มสะอาดมาทำความสะอาดช่องปาก เหงือก และฟัน เพื่อกำจัดแผ่นคราบจุลินทรีย์ออกไป และหากบุตรหลานของท่านชอบหลับไปโดยต้องดูดขวด ก็พึงระวังอย่าให้ของเหลวในขวดนั้นเป็นอย่างอื่นใดเลยนอกจากน้ำสะอาดเท่านั้น (อ่านเพิ่มเติมใน “ ฟันผุจากการดูดนมขวด”)

    สำหรับเด็กที่โตขึ้นมาแล้ว ควรแปรงฟัน อย่างน้อยวันละสองครั้ง นอกจากนั้น ควรตรวจตราดูปริมาณของกินเล่นที่มีน้ำตาลที่ท่านให้บุตรหลานของท่านกินด้วย อย่าให้มากจนเกินไป

    ฟันน้ำนม

    ฟันน้ำนมของเด็กจะเริ่มขึ้นตั้งแต่อายุได้ 6-7 เดือน และจะทยอยขึ้นจนเต็มเมื่ออายุได้ 2-3 ขวบ เมื่อฟันน้ำนมขึ้นครบแล้ว ผู้ปกครองควรดูแลสุขภาพฟันของลูกด้วยการสอนให้แปรงฟันอย่างถูกวิธี เมื่อเด็กอายุ 6 ขวบ ฟันแท้จะเริ่มขึ้นมาแทนที่ ฟันแท้ซี่แรกคือฟันกรามซี่ในสุดซึ่งจะขึ้นหลังจากฟันน้ำนมซี่สุดท้าย ผู้ปกครองส่วนใหญ่เข้าใจว่าเป็นฟันน้ำนม จึงไม่ได้เอาใจใส่ โดยที่ด้านบดเคี้ยวของฟันซี่นี้จะมีหลุมร่องลึกเป็นที่สะสมของคราบจุลินทรีย์ และสิ่งสกปรกได้ดี เป็นเหตุให้มีโอกาสเกิดฟันผุสูง จึงขอแนะนำให้ทำการเคลือบหลุมร่องฟัน ทำให้ร่องฟันตื้นขึ้นง่ายต่อการทำความสะอาด ฟันแท้ของเด็กจะทยอยขึ้นจนเต็มเมื่ออายุ 12 ขวบ ผู้ปกครองควรพาบุตรหลานมาพบทันตแพทย์ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสุขภาพฟันอย่างสม่ำเสมอ หากพบฟันผุก็สามารถรับการรักษาก่อนที่การผุจะลุกลามทำให้การรักษายากยิ่งขึ้นและเสียค่าใช้จ่ายสูง หรือหากพบว่ามีฟันขึ้นซ้อนเก การสบฟันผิดปกติทันตแพทย์จะสามารถให้คำแนะนำ และให้การรักษาเบื้องต้น ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและให้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น หรือถ้ามีปัญหาเรื่องทันตกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ก็สามารถขอคำแนะนำจากทันตแพทย์เฉพาะทางในสาขาต่างๆได้ เพื่อสร้างความมั่นใจในรอยยิ้มของท่าน

    ฟลูออไรด์

    ฟลูออไรด์

    ฟลูออไรด์ เป็นส่วนประกอบของธาตุฟลูออรีนเป็นธาตุที่มีอยู่ทั่วไปในร่างกาย มีมากที่สุดในกระดูกและฟัน โดยเฉพาะในส่วนเคลือบฟัน ฟลูออรีนที่พบในร่างกายจะอยู่ในลักษณะเป็นสารผสมเรียกว่า ฟลูออไรด์ ซึ่งมี 2 ชนิดคือ โซเดียมฟลูออไรด์ ที่ใช้เจือปนกับน้ำดื่มและแคลเซียมฟลูออไรด์ที่พบตามธรรมชาติ ฟลูออไรด์มีผลต่อฟันโดยจะรวมกับแร่ธาตุที่จะเป็นผลึกของฟันทำให้ฟันที่ยังไม่ขึ้นมีความแข็งแรง และเมื่อฟันขึ้นแล้วฟลูออไรด์ช่วยทำให้เกิดการสะสมของแร่ธาตุกลับสู่ผิวเคลือบฟันช่วยในการซ่อมแซมฟันที่มีรอยผุระยะเริ่มแรก และยังส่งผลให้คราบจุลินทรีย์ที่สะสมบนตัวฟันลดการสร้างกรดที่เป็นอันตรายต่อฟันอีกด้วย การนำฟลูออไรด์มาใช้ในการช่วยป้องกันฟันผุมี 2 รูปแบบ

    – โดยการรับประทาน

    – การสัมผัสผิวเคลือบฟัน

    เคลือบฟลูออไรด์

    คุณพ่อคุณแม่พาเด็กมาพบทันตแพทย์ เพื่อขัดฟันและเคลือบฟลูออไรด์ เพื่อป้องกันฟันผุเป็นประจำปีละ 2 ครั้ง สำหรับฟลูออไรด์ที่ทันตแพทย์เคลือบให้นั้น จากการศึกษาเชื่อว่า มีผลป้องกันฟันผุในด้านผิวเรียบของตัวฟันมากกว่าด้านการบดเคี้ยวที่มีหลุมและร่องลึก ดังนั้นในฟัน กรามที่มีด้านบดเคี้ยวที่มีหลุมและร่องลึก ดังนั้นในฟันกรามที่มีด้านบดเคี้ยวเป็นพื้นผิวขรุขระ เป็นหลุม และร่องลึก มักจะเป็นบริเวณที่ผุง่าย เนื่องจากการตกค้างของเศษอาหาร และคราบจุลินทรีย์ขณะเดียว ขณะเดียวกันขนแปรงสีฟันมีขนาดใหญ่กว่า ไม่สามารถแทรกเข้าไปทำความสะอาดได้ จึงมักเกิดฟันผุ บริเวณนี้

    ช่วงอายุที่เหมาะสมในการเคลือบหลุมร่องฟัน (Sealant)

    – เด็กอายุ 3-4 ปี ระยะที่ฟันกรามน้ำนมขึ้นครบ

    – เด็กอายุ 6-7 ปี ระยะที่ฟันกรามแท้ขึ้นซี่แรกขึ้น

    – เด็กอายุ 11-13 ปี ระยะที่ฟันกรามน้อย และกรามแท้ซี่ที่สองขึ้นด้วยวิธีการข้างต้น ถ้าคุณแม่

    ผู้ปกครอง ดูแลเอาใจใส่และทำตาม จะมีผลให้สุขภาพช่องปากของลูกสะอาดปราศจากฟันผุและมีผลไปถึงสุขภาพกายและจิตใจที่ดีด้วย

    เครื่องมือกันฟันล้ม ( space maintainer ) สำหรับเด็ก

    เครื่องมือกันฟันล้ม

    เรามาทำความรู้จักเครื่องมือชนิดหนึ่งที่จะต้องใส่ไว้ในปาก ซึ่งคุณพ่อคุณแม่หลายท่านก็คงจะเคยกันมาบ้างแล้ว โดยที่อาจจะยังไม่ค่อยเข้าใจนักว่า ทำไมลูกของคุณ ทำไมจึงต้องใส่เจ้าเครื่องมือนี้ด้วย

    เครื่องมือนี้เรียกกันว่าเป็นเครื่องมือ “กันที่” บางทีก็เรียกเป็เครื่องมือกันฟันล้ม ( space maintainer ) ซึ่งก็เรียกตามหน้าที่การใช้งานของมันนั่นเอง เพราะเจ้าเครื่องมือที่ว่านี้ ทำหน้าที่ในการรักษาระยะห่างระหว่างฟันเอาไว้ไม่ให้ลดลงหรือหายไป โดยที่มันจะประกอบไปด้วยส่วนที่ไปสวมฟันที่อยู่หลังช่องว่างเพื่อใช้เป็นหลัก และส่วนที่ยื่นออกมาสัมผัสหรือแตะกับฟันที่อยู่ข้างหน้าช่องว่างนั้น เพื่อเป็นตัวค้ำยันไม่ให้ฟันข้างหลังขยับมาในช่องว่าง

    เมื่อพบว่ามีช่องว่างจากการถอนฟันไปก่อนวัยอันควร ในเด็กที่อายุยังไม่ถึง 12 ปี หรือในเด็กที่ฟันกรามน้อยยังไม่ขึ้น

    ทันตแพทย์จะแนะนำให้ใส่เครื่องมือกันฟันล้ม หรือเครื่องมือกันที่นี้ การใส่ก็ไม่ยุ่งยากและ(มักจะ)ไม่เจ็บ โดยในครั้งแรก

    ทันตแพทย์จะลอง “แบนด์” (Band)ซึ่งมีลักษณะเหมือนแหวนสวมไปที่ฟันที่จะใช้เป็นหลักเพื่อหาขนาดที่พอดีกับฟันซี่นั้นๆก่อน จากนั้นจึงพิมพ์ปากเพื่อจำลองแบบในปากออกมาใช้ในการทำเครื่องมืออีกที

    – เครื่องชนิดนี้จะมีหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่ว่าฟันของแต่ละคนจะเหมาะสมกับ space maintainer ชนิดไหน

    กรณีที่ต้องใส่Space maintainer

    ถ้าหากว่าการแทนที่ของฟันแท้เป็นไปอย่างปกติก็จะทำให้ฟันแท้ที่ขึ้นตามหลังมาเรียงตัวกันได้ดี แต่ที่เป็นปัญหาก็คือเด็กๆมักมีการสูญเสียฟันไปก่อนวัยอันควร โดยเฉพาะฟันกรามน้ำนมที่ควรจะหลุดเมื่ออายุ 11-12 ปี แต่ก็อาจถูกถอนไปตั้งแต่มีอายุเพียง 7-8 ปีซึ่งทำให้มีช่องว่างเกิดขึ้น ฟันกรามแท้ที่ขึ้นมาแล้วหรือฟันกรามน้ำนมที่เหลืออยู่ก็จะขยับหรือล้มมาข้างหน้าเพื่อปิดช่องว่างดังกล่าว ทำให้ฟันแท้(ฟันกรามน้อย)ที่จะขึ้นมาเมื่ออายุ 12 ปีตรงตำแหน่งนั้นไม่มีที่พอ จึงเกิดการซ้อนเกขึ้นและซึ่งจะมีปัญหาตามมา ดังนั้นถ้าบุตรหลานของท่านมีปัญหาฟันน้ำนมหลุดก่อนเวลาอันสมควร ควรมาปรึกษาทันตแพทย์นะค่ะ

    ทันตกรรมเด็ก

    การรักษารากฟันเด็ก

    การรักษารากฟันเด็ก

    เมื่อฟันผุลึกมากขึ้นจนถึงโพรงประสาทฟัน เด็กจะเริ่มมีอาการปวด ในระยะนี้จะทำการอุด หรือครอบฟันเลยไม่ได้ จะต้องทำการรักษารากฟันหรือรักษาโพรงประสาทฟันก่อน pulpotomy and pulpectomy. อย่าเข้าใจผิดคิดว่าฟันน้ำนมผุแล้วไม่มีผลอะไร เดี๋ยวฟันแท้ก็ขึ้นมาแทนที่ เพราะหากผุมาก ๆ เกิดการอักเสบบวมมาก ๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ หรือถ้าหากเด็กต้องเสียฟันน้ำนมไปก่อนวัยอันควรจะทำให้การขึ้นของฟันแท้ไม่สมดุล

    -ในฟันที่อาการปวดเกิดจากสิ่งกระตุ้น เช่นความร้อน ความเย็น การอุดติดของเศษอาหาร เมื่อกำจัดสิ่งกระตุ้นแล้วก็จะหายปวด อาการเช่นนี้หากทันตแพทย์กรอเนื้อฟันผุแล้วพบว่ารอยผุเกือบทะลุโพรงประสาทฟัน หรือมีรอยทะลุเป็นจุดเล็ก ๆ ก็จะทำการรักษาโดยการรักษาโพรงประสาทฟัน (Pulpotomy) ซึ่งการรักษาโพรงประสาทฟันจะทำโดยการกรอกำจัดเนื้อโพรงประสาทฟันเฉพาะในส่วนตัวฟัน ไม่ถึงรากฟัน ใส่ยา และอุดฟันด้วยวัสดุอุด จากนั้นจึงทำการครอบฟัน

    – หากฟันผุ ที่เด็กมีอาการปวด แบบอยู่เฉย ๆ ก็ปวด ตื่นขึ้นมาร้องไห้ปวดตอนกลางคืน อาการเช่นนี้บ่งบอกถึงการผุที่ทะลุโพรงประสาทฟันไปแล้ว หรือในกรณีที่ฟันผุมาก ๆ แต่เด็กไม่มีอาการปวด โดยให้ประวัติว่าเคยปวด แต่หายไปแล้ว (ซึ่งกรณีนี้เกิดจากฟันผุจนเส้นประสาทฟันถูกทำลายไปจนหมด จึงไม่มีเส้นประสาทฟันรับความรู้สึกปวดหลงเหลืออยู่) ซึ่งกรณีนี้จะทำการรักษาโดยการรักษารากฟัน (Pulpectomy) โดยจะทำการกำจัดเนื้อโพรงประสาทฟันทั้งในส่วนของตัวฟันและรากฟันจนหมด ทำการใส่วัสดุเข้าไปแทนที่ จากนั้นจึงทำการครอบฟัน

    ทันตกรรมเด็ก

    ทันตกรรมเด็ก

  • ครอบและสะพานฟัน

    Date: 2012.12.28 | Category: ทันตกรรมประดิษฐ์, ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม, บทความทันตกรรม | Response: 0

  • รากฟันเทียม (Dental Implants)

    Date: 2012.12.28 | Category: บทความทันตกรรม, รากฟันเทียม | Response: 0

  • เคลือบฟันเทียม (วีเนียร์)

    Date: 2012.12.23 | Category: ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม, บทความทันตกรรม | Response: 0

  • วิธีขจัดคราบฟันให้ถูกต้อง

    Date: 2011.06.24 | Category: ทันตกรรมทั่วไป, บทความทันตกรรม | Response: 0

  • โรคปริทันต์ (โรคเหงือก หรือ รำมะนาด)

    Date: 2010.07.22 | Category: ทันตกรรมทั่วไป, ทันตกรรมปริทันต์ | Response: 0

  • การฟอกสีฟัน

    Date: 2010.07.22 | Category: ทันตกรรมเพื่อความสวยงาม, บทความทันตกรรม | Response: 0