Archive for August, 2013

  • การฟอกสีฟัน

    Date: 2013.08.01 | Category: FAQ | Response: 0

  • เคลือบฟันเทียม (วีเนียร์)

    Date: 2013.08.01 | Category: FAQ | Response: 0

    เคลือบฟันเทียมวีเนียร์

    Q : เคลือบฟันเทียม คืออะไร ?

    A : เคลือบฟันเทียม คือ ผิวด้านหน้าของฟันที่สร้างขึ้นมาใหม่ ด้วยวัสดุประเภท พลาสติก หรือ เซรามิก เพื่อทดแทนผิวหน้าฟันจริง ที่อาจสูญเสียไป หรือ อาจมีสีไม่สวยงาม

    Q : เคลือบฟันเทียม มีกี่ชนิด? อะไรบ้าง?

    A : เคลือบฟันเทียม แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ๆ ตามกระบวนการผลิตชิ้นเคลือบฟันเทียม ดังต่อไปนี้

    เคลือบฟันเทียมที่ทำโดยตรงในปาก (Direct Veneer)

    เคลือบฟันเทียมที่ทำนอกช่องปาก ในห้องปฏิบัติการ (Indirect Veneer)

    แต่หากแบ่งออกตามชนิดของวัสดุที่ใช้ทำเคลือบฟันเทียม สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด ดังต่อไปนี้

    เคลือบฟันเทียมที่ทำจากพลาสติกเรซิน (Resin Composite Veneer)

    เคลือบฟันเทียมที่ทำจากเซรามิค (Ceramic Veneer)

    Q : แล้วชนิดไหนดีที่สุด ?

    A : หน้าที่ของเคลือบฟันเทียม ไม่ว่าจะเป็นการทำจากวัสดุใดก็ตาม หรือว่าจากกระบวนการใดๆ ก็ตาม ทั้งในปาก และนอกปาก ต่างก็ทำเพื่อวัตถุประสงค์เดียวกันทั้งนั้น แต่เนื่องจากวัสดุประเภทเซรามิคนั้นมีความสวยงามเป็นธรรมชาติ และแข็งแรงกว่าวัสดุประเภทเรซินพลาสติก ดังนั้น ในกรณีที่ต้องการความสวยงามแข็งแรงมาเป็นอันดับแรก ก็ย่อมควรเลือกเคลือบฟันเทียมประเภทเซรามิค แต่ก็มีราคาสูงกว่าวัสดุประเภทพลาสติก และยังใช้เวลาในการทำเป็นจำนวนครั้งที่มากกว่า เพราะต้องมีขั้นตอนของกระบวนการทางห้องปฏิบัติการด้วย ในขณะที่วัสดุประเภทพลาสติกนั้น สามารถทำได้โดยตรงในช่องปากเลย ซึ่งสามารถทำให้เสร็จได้ในครั้งเดียว ดังนั้น หากต้องการความสวยงามระดับหนึ่ง แต่ต้องการราคาที่ไม่แพงนัก และมีเวลาจำกัด ก็อาจพิจารณาเลือกใช้วัสดุประเภทพลาสติกได้

    อนึ่ง วัสดุประเภทพลาสติก หากต้องการเรื่องของความแข็งแรงและความสวยงามที่มากขึ้นกว่าการทำโดยตรงในปาก ก็อาจพิจารณาเลือกชนิดของวัสดุที่ทำผ่านกระบวนการทำห้องปฏิบัติการได้ แต่คุณสมบัติเรื่องของความสวยงาม ความแข็งแรง แม้จะมีมากกว่าการทำโดยตรงในช่องปาก แต่ก็ยังไม่สามารถเทียบเท่ากับวัสดุประเภทเซรามิคอยู่ดี

  • รากฟันเทียม (Dental Implants)

    Date: 2013.08.01 | Category: FAQ | Response: 0

    Q :  รากฟันเทียม คืออะไร ?

    A: ชนิดต่างๆ ของรากฟันเทียม

    ชนิดของรากเทียม

    รากฟันเทียม ทำมาจากวัสดุที่เข้ากันได้ดีกับร่างกายของเรา ใช้ทดแทนฟันที่หายไปได้ทั้งส่วนของรากและส่วนตัวฟัน รากฟันเทียมโดยทั่วไปในยุคปัจจุบันมักเป็นเกลียวหรือทรงกระบอกที่ทำมาจากโลหะไทเทเนียม

    ไทเทเนียมเป็นโลหะที่พิเศษ กล่าวคือ มันจะยึดตึดกับกระดูกโดยไม่มีชั้นใดๆ มาขวางกั้น การที่ไทเทเนียมยึดแน่นกับกระดูกนี้ เรียกกันว่า osseo integration ข้อดีอีกอย่างหนึ่งของไทเทเนียมคือ มันจะไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ ร่างกายยอมรับได้ดี ไม่มีการอักเสบของเนื้อเยื่อช่องปาก และเพราะคุณสมบัติที่เข้ากันได้ดีกับเนื้อเยื่อในร่างกายมนุษย์ จึงมีการใช้ไทเทเนียมกันอย่างกว้างขวางในทางการแพทย์ เช่น การฝังเข้าไปในสะโพก หัวเข่า ฯลฯ

    โดยทั่วไปแล้ว รากฟันเทียมจะมีความยาวตั้งแต่ 6–15 มิลลิเมตร และมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-5 มิลลิเมตร ปัจจุบัน มีหลากหลายบริษัทผู้ผลิตรากฟันเทียม แต่มีเพียงไม่กี่ระบบที่มีผลการศึกษาและวิจัยถึงผลการใช้งานในระยะยาว

    Q: ใส่รากฟันเทียมอย่างไร ?

    A: ต้องมีการวางแผนการรักษาที่ดีและครอบคลุมก่อนในขั้นแรก ภาพถ่ายรังสีและแบบจำลองฟันที่ได้จากการพิมพ์ปากจะเป็นตัวช่วยที่ดีในการประเมินปริมาณกระดูกในแง่ของความกว้างและลึก ดังนั้น จะสามารถวางแผนสำหรับเลือกขนาดของรากฟันเทียมที่เหมาะสมได้


    การทำรากฟันเทียม เป็นกระบวนการทางศัลยกรรมที่ทำภายใต้ภาวะปลอดเชื้อ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 45-90 นาที โดยใช้ยาชาเฉพาะที่ จึงไม่ทำให้รู้สึกเจ็บปวดแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม กระบวนการนี้อาจก่อให้เกิดความเครียดต่อคนไข้ได้ การใช้ก๊าซ ไนตรัสออกไซด์ (ก๊าซหัวเราะ) หรืออาจเป็นยาสงบประสาท อาจถูกนำมาใช้ได้ในบางกรณี ซึ่งจะช่วยให้คนไข้รู้สึกผ่อนคลายและสบายขึ้นในการทำรากฟันเทียมที่ยุ่งยากซับซ้อนขึ้น เช่น ในกรณีที่มีการเติมปริมาณกระดูก อาจพิจารณาใช้การดมยาสลบสำหรับคนที่กลัวการทำฟันมากๆ ได้ โดยจะต้องอาศัยบุคคลากรที่ชำนาญการโดยเฉพาะ

    เมื่อเหงือกและเนื้อเยื่อหมดความรู้สึก (ชา) ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือออกอย่างระมัดระวัง แล้วกรอกระดูกจนมีขนาดพอเหมาะกับรากฟันเทียมที่เลือกไว้ แล้วใส่รากฟันเทียม (เฉพาะในส่วนของราก) ลงไป จากนั้น ก็จะเย็บปิดเหงือกด้านบนเอาไว้ รอเวลาให้แผลหาย โดยในระหว่างนี้ อาจมีฟันปลอมให้ใช้งานไปก่อนได้ แล้วแต่กรณี

    ถึงเวลาใส่ฟันลงไปบนรากฟันเทียม

    เมื่อถึงเวลาที่รากฟันเทียมเฉพาะในส่วนของรากเชื่อมติดแน่นดีกับกระดูกโดยรอบ ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 6-12 สัปดาห์ ทันตแพทย์ก็จะเปิดเหงือกออกมาอีกครั้ง เพื่อใส่ฟันลงไปบนรากฟันเทียมที่อยู่ภายในกระดูกแล้ว ซึ่งอาจใช้วิธีปกติ หรือใช้เลเซอร์ก็ได้ กระบวนการใส่ฟัน จะประกอบไปด้วยการพิมพ์ปาก ส่งงานไปแล็บ แล้วเมื่อได้ชิ้นงานฟันปลอม ก็จะนำมาใส่ลงไปบนรากฟันเทียมนั้นๆ ได้เลย


  • การจัดฟัน

    Date: 2013.08.01 | Category: FAQ | Response: 0

    การถอนฟันเพื่อการจัดฟัน

    Q : การจัดฟันต้องมีการถอนฟันทุกครั้งหรือไม่?

    A : โดยทั่วไปแล้ว การจัดฟันจำเป็นต้องมีการเคลื่อนตัวของฟัน หากในช่องปากไม่มีเนื้อที่พอให้ฟันเคลื่อนที่ไปได้ เช่นในกรณีฟันซ้อนเบียดตัวกัน ก็จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มเนื้อที่เพื่อให้ฟันสามารถเคลื่อนที่ไปได้ ซึ่งอาจใช้การถอนฟัน หรืออาจเป็นการกรอลดขนาดของฟันลงเล็กน้อยก็ได้ แต่หากในช่องปากมีเนื้อที่มากพออยู่แล้ว เช่น เคยมีการถอนฟันไปแล้ว หรือฟันห่างอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องถอนฟันออกก็เป็นได้

    Q : แล้วถ้ามีฟันคุดล่ะ ต้องเอาออกก่อนจะจัดฟันด้วยหรือไม่ หรือว่าเอาออกทีหลังได้ ?

    A : ฟันคุด เป็นฟันที่ทันตแพทย์ไม่แนะนำให้เก็บเอาไว้อยู่แล้ว ดังนั้น ถึงแม้ไม่ได้จัดฟัน ก็แนะนำให้เอาฟันคุดออก ทั้งนี้ ก็เพื่อให้ง่ายต่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปาก แต่ความจำเป็นที่จะเอาฟันคุดออกก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น อายุ สภาพฟันและเหงือก ฯลฯ ซึ่งทันตแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเป็นรายๆ ไป

    การดูแลรักษาสุขภาพช่องปากในคนที่มีเครื่องมือจัดฟันอยู่จะยุ่งยากกว่าปกติที่ไม่มีเครื่องมือ ดังนั้น หากพบว่ามีฟันคุดที่ยากต่อการดูแลทำความสะอาด ก็มักจะได้รับคำแนะนำให้เอาออก ทั้งนี้ มิใช่เพื่อการจัดฟัน แต่เพื่อการดูแลรักษาสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นนั่นเอง แต่หากพบว่า ฟันคุดนั้นๆ มีทิศทางการงอกที่จะดันฟันที่เหลืออยู่ให้เคลื่อนที่ไป การเอาฟันคุดออกก่อน หรืออย่างน้อย ระหว่าง การจัดฟัน ก็น่าจะเป็นสิ่งที่พึงกระทำ เพราะหากไม่เอาฟันคุดออก หลังจัดฟันเรียบร้อย ก็มีโอกาสฟันเคลื่อนตัวไปจากตำแหน่งที่ต้องการ เกิดปัญหาฟันบิด ซ้อนเกกลับมาอีกได้ ทำให้ต้องกลับมาจัดฟันกันใหม่อีกรอบ ซึ่งการรักษาก็อาจยุ่งยากซับซ้อนขึ้นกว่าเก่า แต่ทั้งนี้ การใส่เครื่องมือคงสภาพฟัน (Retainers)

    ยังคงเป็นสิ่งจำเป็น เพราะจะช่วยให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการได้ แม้จะยังคงมีฟันคุด ก็จะช่วยให้การกลับไปซ้อนเก เกิดขึ้นได้ยากขึ้น แต่ในที่สุดแล้ว ก็แนะนำให้เอาฟันคุดออก หากทิศทางของฟันคุดนั้น มีโอกาสจะดันฟันอื่นๆ ให้เคลื่อนได้

    Q :    อะไรทำให้ฟันเรียงตัวไม่ดี ?

    A :   โดยธรรมชาติแล้ว ฟันคนเราจะงอกขึ้นมาในช่องปากด้วยแรงที่มีอยู่ตามธรรมชาติของหน่อฟัน หากมีสิ่งกีดขวางการงอก ฟันก็จะงอกในตำแหน่งที่ธรรมชาติกำหนดไว้ไม่ได้ แต่จะพยายามหาทางเบี่ยงตัวเองออกไปด้านข้างเคียง เพื่อที่จะงอกขึ้นมาในช่องปากให้ได้

    โดยทั่วไปแล้ว ฟันแท้ส่วนมากมักจะงอกขึ้นมาแทนที่ฟันน้ำนม ซึ่งรากของฟันน้ำนมจะละลายไป เนื่องจากถูกแรงดันขณะที่ฟันแท้งอกขึ้นมา ทำให้ฟันน้ำนมโยก และหลุดออกมาได้เองในที่สุด หากฟันน้ำนมไม่หลุด ฟันแท้ก็จะงอกซ้อนฟันน้ำนม อาจเป็นเหตุให้เกิดฟันซ้อนเกได้ในอนาคต

    ในคนที่สูญเสียฟันน้ำนมไปก่อนเวลาอันควร เช่น ฟันผุมากจนต้องถอนออก ฟันแท้ข้างใต้จะไม่มีแนวทางให้ฟันขึ้น ก็อาจนำไปสู่การบิดเก หรืองอกไม่ตรงแนวได้ ส่วนฟันที่อยู่ข้างเคียงก็อาจงอกเอียงเข้ามา ทำให้เนื้อที่สำหรับฟันแท้แคบลง ที่ไม่พอให้ฟันขึ้น ก็ทำให้ฟันแท้งอกบิด ซ้อนเก วิธีป้องกัน ก็คือ ควรใส่เครื่องมือกันที่

    (Space Maintainer) เพื่อป้องกันฟันล้ม รอจนกระทั่งใกล้เวลาฟันแท้งอก ค่อยถอดเครื่องมือออก